จับตาส่งออกปี64 อย่าฟื้นตัวแค่เชิงเทคนิค

ประเทศไทยที่พึงพาการส่งออกมากถึง 70% ของจีดีพี แต่ปี2563 นี้ ประเมินว่าการส่งออกไทยจะติดลบ หรือ เข้าใจง่ายๆคือรายได้ประเทศติดลบ แต่ประเมินว่า ปี 2564 การส่งออกไทยน่าจะกลับมาฟื้นตัว แต่จะเป็นการฟื้นตัวแบบไหน
 
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กำลังเป็นปัญหาปวดหันของทีมเศรษฐกิจในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศ  ประเทศไทยที่พึงพาการส่งออกมากถึง 70% ของจีดีพี แต่ปี2563 นี้ ประเมินว่าการส่งออกไทยจะติดลบ หรือ เข้าใจง่ายๆคือรายได้ประเทศติดลบ แต่ประเมินว่า ปี 2564 การส่งออกไทยน่าจะกลับมาฟื้นตัว แต่จะเป็นการฟื้นตัวแบบไหน
 
สมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ปี2564กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า การส่งออกจะขยายตัว 4% ขณะที่ปี 2563 คาดว่าการส่งออกจะติดลบ 7% หรือ อาจจะต่ำกว่า เนื่องจากทิศทางการส่งออกหลายๆอย่างส่งสัญญาณดีขึ้น เช่น คำสั่งซื้อหลายรายการสินค้ากลับมาที่ไทยด้วยเหตุผลสองอย่าง หนึ่งคือ โลจิสติกส์ไทยไม่ได้ปิด และสองคือ ไทยไม่มีสถานการณ์การติดเชื้อที่ทำให้ต้องหยุดการผลิตสินค้า ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยความมั่นใจกับสถานการณ์การปลอดเชื้อในประเทศซึ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นเรื่องสุขอนามัยเพิ่มขึ้นด้วย
 
“การส่งออกที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มาจากปัจจัยการเติบโตทางเทคนิคที่บอกว่าเมื่อปีก่อนหน้าติดลบอีกปีจะเป็นบวก แต่ต้องมองว่ามูลค่าการส่งออกของไทยปัจจุบันเฉลี่ยที่ 2 แสนล้านดอลลาร์  ซึ่งที่ผ่านมาไทยยังไม่เคยหลุดจากกรอบชี้ให้เห็นว่าศักยภาพการส่งออกไทยยังดีอยู่มาอย่างต่อเนื่องรวมถึงปี2564ที่จะมาถึงด้วย”
 
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการส่งออก ม.ค.-ก.ย.2563 มูลค่า 172,996 ล้านดอลลาร์ ติดลบ 7.33%  และคาดว่าอีก 3 เดือนจากนี้การส่งออกจะไม่แย่ลงทำให้ประเมินว่าปีนี้ จะติดลบเพียง 7%
 
ขณะที่การส่งออกของไทยปี 2561 มูลค่า 252,959 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 6.9% ปี 2562 มูลค่า 246,268 ล้านดอลลาร์ ติดลบ 2.64%  ส่วนปี 2564 คาดว่าจะขยายตัว 4%  แม้แผนการส่งเสริมการส่งออกปี2564 ที่เดิมจะมีการประชุมร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์)ช่วงเดือนพ.ย.ของทุกปี นั้นล่าสุดยังไมีมีการประชุมทั้งระบบออนไลน์ และออฟไลน์ 
 
สมเด็จ กล่าวว่า ขณะนี้กรมดำเนินการจัดบิสซิเนส แมชชิ่งในกลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาต้นทุนการค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะประเด็นการขนส่งและโลจิสติกส์ต่างๆ เบื้องต้นได้ จัดให้บริษัทของไทยจับคู่ธุรกิจกับคู่ค้าในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา ,สปป.ลาว,เมียนมา,เวียดนาม) เนื่องจากเอกชนหลายรายมีปัญหาต้นทุนค่าขนส่งทางถนนไปยังตลาดดังกล่าว ดังนั้นการบริหารจัดการฝั่งดีมานด์และซับพลายธุรกิจที่ต้องการขนส่งสินค้าให้สอดคล้องกันจะทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์สามารถลดลงได้ในสัดส่วนที่เหมาะสม
 
“เราทำหน้าที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจได้เจอกันได้คุยกันและถ้าความต้องการตรงกันก็เป็นการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการต้นทุนทางธุรกิจโดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์ให้มีสัดส่วนที่ลดลงหลังจากที่พบว่าเอกชนหลายรายเผชิญปัญหาต้นทุนการทำธุรกิจด้านต่างๆเพิ่มขึ้น”
 
ในส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ทางเรือ พบว่าบริษัทเรือไม่ใช่ของคนไทยดังนั้นการต่อรองเรื่องต่างๆดำเนินการได้ยากแต่จะเน้นการเจรจาพร้อมการจัดการฝั่งดีมานด์ของผู้ประกอบการไทยเพื่อให้ต้นทุนด้านการขนส่งนี้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและรับไม่ ขณะเดียวกันต้องไม่มาเป็นอุปสรรคเพิ่มสำหรับการส่งออกของด้วย ส่วนสาเหตุปัญหามาจากจีนมีความต้องการใช้เรือจำนวนมากทำให้บริษัทเรือส่วนใหญ่หันไปให้บริการที่นั่นมากกว่าเพราะมีโอกาสคุ้มทุนการเดินเรือในแต่ละครั้ง
 
โดยเมื่อเร็วๆนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศรวมผู้ประกอบการไทยด้านโลจิสติกส์ชั้นนำของประเทศกว่า 50 ราย บนเว็บไชต์www.tiloglogistix.com/matching2020พร้อมจับมือสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ 58 แห่งทั่วโลก ดึงผู้ประกอบการต่างชาติร่วมเจรจาการค้า โดยผู้ประกอบการไทยที่เข้าร่วม ประกอบด้วย กลุ่มบรรจุ (Packing) คลังสินค้า (Warehouse & Loading) เทคโนโลยีและนวัตกรรมโลจิสติกส์ (Logistics IT & E-Logistics) และบริการขนส่งสินค้า (Transportation & Logistics Service Providers) รวมถึง Start up ด้านโลจิสติกส์
 
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ต้นทุนการขนส่งสินค้าข้าวในขณะนี้สูงขึ้นมาก และพบว่ามีค่าใช้จ่ายแฝงที่จากเดิมไม่ต้องจ่ายก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นมา เนื่องจากบริษัทเรือบางแห่งไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้หลังประสบปัญหาการระบาดโควิด-19 ทำให้ปริมาณการค้าโลกลดลง จนทำให้ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเดินเรือระหว่างประเทศลดลง และนำไปสู่การแย่งชิงเรือและพื้นที่ขนส่งในที่สุด
 
“ต้นทุนการขนส่งที่เเพงขึ้น ก็จะไปบวกกับราคาสินค้าปลายทางซึ่งก็ทำให้ขีดความสามารถการแข่งขันของไทยลดลงเพราะเมื่อราคาแพงกว่าคู่แข่งโอกาสสินค้าไทยก็จะลดลง จึงอยากให้ช่วยกันเร่งแก้ปัญหาเพราะแม้จะดูเป็นปัญหาเล็กน้อยแต่อาจกระทบขีดควาสามารถการแข่งขันส่งออกของไทยได้”
 
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเร็วๆนี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) โดยที่ประชุมหารือถึงเรื่องต้นทุนการขนส่ง เช่น ค่าระวางเรือกับค่าทำเนียมเรือที่มีราคาสูง และที่อาจมีการยกเลิกตู้ที่ประเทศไทยจองไว้หรือที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยบังคับให้ภาคเอกชนหรือผู้ส่งออกต้องไปใช้ท่าเรือชายฝั่ง A0 ซึ่งค่อนข้างคับแคบ ทำให้ติดอุปสรรคที่ต้องการความรวดเร็วการเรียกเก็บค่าการใช้ร่องน้ำ กระทรวงพาณิชย์จะร่วมกับภาคเอกชนในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางคลี่คลายปัญหานี้โดยเร็วต่อไป
 
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)