เวียดนามกับข้าวโพด GMO
สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอ มากเป็นอันดับ 1 ของโลก...โดยเริ่มปลูกเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปี 2539 โดยเฉพาะข้าวโพด ฝ้าย และถั่วเหลือง
ปี 2562 ฝ้ายทั้งหมดที่ปลูกในสหรัฐฯประมาณ 92% เป็นฝ้ายจีเอ็มโอ และ 90% ของพื้นที่ปลูกข้าวโพด เป็นข้าวโพดจีเอ็มโอ ส่วนถั่วเหลืองมีพื้นที่ปลูก 95%
กว่า 20 ปี การปลูกพืชจีเอ็มโอที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยปัจจุบันมี 70 ประเทศ มีพื้นที่ปลูกรวมกันคิดเป็นพื้นที่ทั้งหมด 1,198 ล้านไร่
ล่าสุดมีผลสำรวจเกษตรกรจากหน่วยงานในประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดอย่าง เวียดนาม ที่เริ่มให้ทดลองปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ มาตั้งแต่ปี 2558 โดยใช้วิธีสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอทั้งสิ้น 735 ราย ของเวียดนามระหว่างปี 2561-2562
พบว่า ข้าวโพดจีเอ็มโอช่วยเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ลดการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรู พืช ไม่ต่างจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์จำนวนนับไม่ถ้วน เกี่ยวกับประโยชน์ของพืชดัดแปลงพันธุกรรม
การสำรวจยังพบว่า ข้าวโพดจีเอ็มโอให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวโพดทั่วไปถึง 30.4% ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ไร่ละ 132.5-157บาท
โดยเฉพาะประหยัดต้นทุนสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช หรือทุกๆ 1 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 32 บาท ที่เกษตรกรจ่ายไปกับค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจีเอ็มโอ เมื่อเทียบกับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดทั่วไป เกษตรกรจะมีรายได้พิเศษเพิ่มขึ้น 214-393 บาท
ส่วนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่เคยถูกกล่าวหาจากเอ็นจีโอเจ้าประจำว่า มีผลกระทบด้านลบ...กลับเป็นด้านบวกมากกว่า เพราะข้าวโพดจีเอ็มโอทำให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชและสารกำจัดวัชพืชลดลง
ในเมื่อใช้ตัวบ่งชี้ความฉลาดทางสิ่งแวดล้อม (EIQ) พบว่า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมลดลง 36% การใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชลดลงโดยเฉลี่ย 77%...แล้วคุณท่านเอ็นจีโอจะต่อต้านไปเพื่ออะไร มีอะไรซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังหรือไม่
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563