การลงทุนด้านพลังงานในประเทศเวียดนาม

เวียดนาม เป็นประเทศหนึ่งในอาเชียนที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
ดังจะเห็นได้จาก จีดีพี ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา(2558-2562)อยู่ที่ค่าเฉลี่ย  6.8% ในปีนี้ (2563) 
แม้เวียดนามจะเผชิญกับการระบาดของโควิด 19 เหมือนประเทศต่างๆในโลก แต่อัตราการเติบโต
 
ทางเศรษฐกิจ ซึ่งบ่งชี้จากจีดีพี ใน 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ยังขยายตัว 2.12% ในขณะที่ประเทศอื่นๆในโลกล้วนมี จีดีพี ติดลบ
 
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม มาจากการขยายตัวทางภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการลงทุนของบรรดา FDI จากประเทศต่างๆโดยเฉพาะจากเกาหลีใต้ ญี่ปูน จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน อเมริกา รวมทั้งประเทศไทย การหลั่งไหลเข้ามาตั้งโรงงานของ FDI ในภาคการผลิต ผนวกกับการขยายตัวของภาคครัวเรือน ของเวียดนามซึ่งมีประชากรเกือบ 100 ล้านคน ประชากรในชนบทมุ่งเข้าสู่เมือง (Urbanization) ทำให้เกิดความต้องการด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในภาคการผลิต และตอบสนองความต้องการของภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
 
นับแต่ปี 2561 เป็นต้นมา รัฐบาลเวียดนามจึงต้องมีแผนการผลิตกำลังไฟฟ้าของประเทศ และต่อมารัฐบาลเวียดนามได้ออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เอกชนทั้งในและนอกประเทศ (FDI) สามารถลงทุนในด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งนักลงทุนไทยก็เป็นผู้มีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าว
 
การที่รัฐบาลเวียดนามได้มีนโยบายส่งเสริมให้เอกกชนเข้ามาลงทุนธุรกิจพลังงานไฟฟ้า โดยเน้นในเรื่องพลังงานทดแทนไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) พลังงานลม หรือแม้แต่พลังงานโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ LNG และล่าสุดอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหินที่จ.กว๋างจี่ ภาคกลางของเวียดนาม จึงเป็นการเปิดกว้างสำหรับนักลงทุนด้านพลังงาน 
 
 
จากนโยบายส่งเสริมให้นักธุรกิจเอกชนเข้ามาลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้า เวียดนามจึงได้มีโครงการทำสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนดังเช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ การไฟฟ้าเวียดนาม (EVA) รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนในอัตรา 9.35 เซ็นต์ (USD) ต่อกิโลวัตต์ขั่วโมง
เป็นระยะเวลา 20 ปี ซึ่งโครงการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงเมื่อกลางปีนี้ นอกจากนั้น ยังมีโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ลงทุนด้านพลังงานลมในอัตรา 8.5 เซ็นต์ (USD) ต่อกิโลวัตต์ขั่วโมง
 
จากการส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานดังกล่าว เป็นผลให้ บรรดา FDI จากขาติต่างๆโดยเฉพาะนักลงทุนจากไทยเข้ามาลงทุนในด้านพลังงานในเวียดนาม ปัจจุบัน มีบริษัทไทยที่ไปลงทุนแล้ว 8 บริษัทดังรายนามต่อไปนี้
 
    1) บมจ.บี.กริม พาวเวอร์ (BGRIM)
    2) บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนต์ (GULF)
    3) บมจ.ซุปเปอร์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น (SUPER)
    4) บมจ.ราชกรุ๊ป (RATCH)
    5) บมจ.บ้านปู เพาเวอร์ (BPP)
    6) บมจ.เสริมสร้าง เพาเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP)
    7) บจ.อิสเทอร์น พาวเวอร์ กร๊ป (EP)
    8) บจ.บีจี คอนเทนเนอร์ กลาส (BGC)
 
รัฐบาลเวียดนามมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจาก FDI ทั้งนี้เพื่อให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจบรรลุเป้าหมายเวียดนามจึงได้มีการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุน โดยให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษี เช่น ยกเว้นภาษีกำไร ในสองปีแรกและลดหย่อนการเสียภาษีกำไรเหลือ 50% ของอัตราภาษีกำไรปกติ (ปัจจุบัน 20%) เป็นเวลาอีก 4 ปีถัดมา
 
FDI สามารถลงทุนในเวียดนาม 100% แต่มีบางบริษัทด้านพลังงานของไทยได้เลือกที่จะเข้ามาซื้อสิทธิการลงทุนด้านพลังงานจากบริษัทท้องถิ่นที่ได้รับการอนุมัติจดทะเบียนแล้ว โดยให้บริษัทท้องถิ่นดังกล่าวถือหุ้นส่วนน้อยจำนวนหนึ่ง
 
นักลงทุนจากไทยเร่มเข้ามาลงทุนในประเทศเวียดนามตั้งแต่ปี 2534 ภายหลังจากเวียดนามเปิดประเทศด้วยนโยบายปฎิรูปใหม่ (โด๋ยเหมย) ในปี 2529 ในระยะต้นนักลงทุนไทยส่วนใหญ่ จะใช้วิธีร่วมทุนกับนักธุรกิจท้องถิ่น ด้วยเหตุผลที่ต้องการประกันความมั่นคงทางธุรกิจ
ประกอบกับข้อจำกัดในเรื่องความรู้ ความเข้าใจในกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ่ต่างๆ และส่วนใหญ่มักประสบความล้มเหลว เนื่องจากมีช่องว่างความคิดเห็นทางธุรกิจ เพราะเวียดนามปิดประเทศเนื่องจากสงครามมานาน และภายหลัง นักลงทุนไทยหลายรายก็เริ่มปรับตัวโดยการเข้าซื้อหุ้นจากนักธุรกิจท้องถิ่น และเข้ามาบริหารเอง 100%
 
ประเทศเวียดนามในช่วงระยะต้น มีปัญหามากในด้านสาธารณูปโภคที่ยังไม่พร้อมเต็มที่ต่อการรองรับการเข้ามาของ FDI ไฟฟ้ามักจะมีการดับอยู่เนืองๆ เนื่องจากปริมาณไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม สิ่งอำนวยสะดวกต่างๆยังไม่เพียงพอ ทางรัฐบาลเวียดนามได้พยายามแก้ปัญหาต่างๆเล่านี้และประสบความสำเร็จพร้อมกับการเข้ามาของนักลงทุนโครงการใหญ่เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา
 
ปัจจุบันนักธุรกิจไทยได้เข้ามาลงทุน ในเวียดนามด้วยจำนวน 588 โครงการ มูลค่าทุนจดทะเบียนรวม 12,471 ยู.เอส.ดอลลาร์และสูงเป็นอันดับ 9 ในบรรดา FDI จากทั่วโลก นักลงทุนไทยในระยะหลัง ส่วนมากจะเน้นในเรื่องของพลังงานไฟ้ฟ้า โดยเฉพาะพลังงานทดแทน
 
 
เวียดนามเป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบการบริหารจัดการโรคระบาดที่ดีมากในระดับต้นของโลก โดยการใช้ยุทธวิธีที่เด็ดขาดเหมือนการเข้าสู่สงครามดังในประวัติศาสตร์เวียดนาม และถึงแม้จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมจากมาตรการ Lock Down บางช่วงเวลาและบางจังหวัด แต่ภาคการผลิตด้านอุตสาหกรรมก็ไม่ได้หยุดชะงัก ยังคงดำเนกตามปกติ ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมของ FDI ไม่ถูกกระทบมากนัก การส่งออกยังเป็นปกติและสามารถส่งออกเพิ่มจากปีก่อน มูลค่าการส่งออกในรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้ เติบโตขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปี 2562 ถึง 4% กว่าเป็นไปตามการคาดการของรัฐบาลที่ตั้งเป้าการขยายตัวส่งมากปี 2563 ที่ 4% รวมถึงจีดีพีที่ขยายตัวในรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้ที่ 2.12%ดังนั้นจึงไมต้องวิตกว่าในอนาคต เศรษฐกิจของเวียดนามจะมีผลลัพธ์ที่แย่ลง
 
 
ประเทศไทยในปัจจุบัน กำลังประสบปัญหาในหลายด้าน โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากรายได้หลักภาคการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวที่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาในไทย และภาคการส่งออกชลอตัวกว่าปีผ่านมา รวมถึงกำลังซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคลดต่ำลงเป็นอันมาก
เป็นผลให้ภาคการผลิตประสบปัญหาไม่สามารถเดินเครื่องได้เต็มกำลัง นักธุรกิจไทยจึงจำเป็นต้องมองหาทางรอดทุกวิถีทาง และวิธีหนึ่งคือหันไปรุกการลงทุนในต่างประเทศ และเวียดนามน่าจะเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจด้วยปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการดังที่กล่าวมาแล้ว นักธุรกิจไทย
จึงจำเป็นต้องพิจารณ์ถึงการย้ายฐานการลงทุนในภาวะการณ์ที่เอื้ออำนวย ก่อนที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันของ นักลงทุนชาติอื่นที่ต่างประสบปัญหาภายในประเทศ และหันไปลงทุนในต่างประเทศ
 
 
ด้วยสถานการณ์และปัจจัยเกื้อหนุนต่อการลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าในเวียดนาม น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักธุรกิจไทยด้านพลังงานที่ยังไม่ได้ตัดสินใจย้ายฐานการลงทุนไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ซึ่งยังคงมีความต้องการทางด้านพลังงานอยู่เป็นอันมาก
ดังจะเห็นได้จากแผนการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า เวียดนามตั้งเป้าหมายไว้ว่า ปี 2568 รัฐบาลตั้งเป้าหมายความต้องการพลังงานไฟฟ้า 337.5 พันล้าน Kwh และปี 2573 ความต้องการอยู่ที่ 478.1 KWh ในขณะที่ ปี 2563 กำลังการผลิตปริมาณไฟฟ้าอยู่ที่ 255.6 KWh ซึ่งหมายความว่าถ้าหากจะป้องกันการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า เวียดนามต้องเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าปีละ 8% หรือคิดเป็นปริมาณ ความต้องการเพิ่มปีละ 5,000-6,000 KWh จากตัวเลขดังกล่าว จึงเป็นปัจจัยท้าทายนักลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าอย่างน้อยอีก 5-10 ปี
 
สภาธุรกิจไทยเวียดนาม
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563  

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)