ส.อ.ท. ชง 4 แนวทางแก้ค่าครองชีพ "แรงงาน"

"ผมมองว่า สาเหตุหลัก ที่เป็นต้นทุนแฝง อยู่ในค่าครองชีพ ของประชาชนคนไทย เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าWi-Fi รวมทั้ง ค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ ของบ้านเรา" นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
 
หากเรามาลองวิเคราะห์ ให้ถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่า ค่าครองชีพของคนไทยที่สูงกว่าเพื่อนบ้านล้วนมีสาเหตุมาจาก 
 
1) กลไกผูกขาด และ ภาครัฐ ถูกครอบงำโดยทุนใหญ่ผูกขาด ในระดับนโยบาย ,ระดับ Regulator และ ระดับ Operator
 
* ระบบสัมปทาน คือ บ่อเกิดแห่งความไม่เป็นธรรม !
 
การขาดกลไกตลาดเสรี คือ ราคา ค่าสาธารณูปโภค ที่คนไทยต้องจ่ายแพง เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน
 
2) ปัญหา การทุจริตคอร์รัปชัน คือ อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ ของต้นทุนต่างๆที่ตามมาในค่าครองชีพ และค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน
 
รวมทั้งตัวเลขของงบประมาณภาครัฐที่สูญหายไประหว่างทาง ก่อนถึงมือประชาชน ในโครงการต่างๆ 
 ด้วยเหตุผล “ของฟรีไม่มีในโลก”
 
สาเหตุทั้ง 2 ข้อข้างต้น
 
ล้วนยิ่งสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ ของประชาชนระหว่างคนรวยและคนจนตลอดมาของสังคมไทย
 
ทางออก *เรื่องการช่วยเหลือค่าครองชีพ* ของประชาชน โดยภาครัฐ จึงควรเป็นวาระแห่งชาติในการแก้ปัญหาร่วมกันดังนี้
 
1) การแก้ปัญหาทุนผูกขาด
2) การแก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น 
3) การผลักดัน “นโยบายรัฐสวัสดิการ” 
 
เพื่อช่วยเหลือลดค่าครองชีพประชาชนที่ลำบากในแต่ละประเภท อย่างเหมาะสม เช่น
 
30 บาทรักษาทุกโรค
รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
Free internet  
โครงการธงฟ้า ราคาประหยัด ทั้ง อาหาร และ สินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญ
เหล่านี้คือสิ่งที่ภาครัฐควรผลักดันอย่างเป็นระบบและทั่วถึง หากเราทำทั้ง 3 ข้อแล้ว ค่าครองชีพของประชาชนและแรงงาน ก็จะลดลง
 
นโยบายค่าแรงขั้นต่า ก็จะไม่เป็นเครื่องมือในการหาเสียงของพรรคการเมือง  อย่างที่เป็นมาในอดีต ซึ่งมีแต่จะทำลายเศรษฐกิจ
 
โดยเฉพาะ SMEs  ด้วยการล้มหายตายจาก และ เลิกกิจการหรือ การลดจำนวนแรงงาน เพื่อลดภาระต้นทุนค่าแรง อย่างที่หลายภาคส่วนเป็นกังวล 
 
ทั้งนี้ยังไม่รวม เงินไหลออกนอกประเทศ จากแรงงานต่างด้าว ที่ได้รับอานิสงส์ ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย
 
โดยส่วนตัวผม มองว่าภาคธุรกิจ ยินดีให้ความร่วมมือ ในการจ่ายค่าแรงด้วยนโยบาย Pay by skill และตาม Productivity นั่นหมายถึงภารกิจในการ Up-skill และ Re-skill ควรเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ภาครัฐและเอกชนควรทำร่วมกันเพื่อให้แรงงานของเรามีคุณภาพตอบโจทย์ธุรกิจและได้รับค่าแรงที่เหมาะสมและเป็นธรรม
  อีกทั้งขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ( Competitiveness) ก็จะดีขึ้นตามลำดับ
 
จากบทความนี้  ผมก็ได้แต่หวังว่า นโยบายค่าแรงขั้นต่ำคงจะเปลี่ยนไป ไม่มากก็น้อยนะครับ
 
ขอบพระคุณครับ
นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ตรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท./ FTI )นายกสมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ส.พ.บ.ธ. / TBSA)
 
 
 
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
 

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)