ทุเรียนไทย สั่นคลอน เมื่อคู่แข่งรุกชิงตลาดจีน
แบงก์ชาติจัดทำบทความ "จับตาสถานการณ์ทุเรียนไทย เมื่อคู่แข่งรุก บุกตลาดจีน" หลังคู่แข่งที่พร้อมเข้าแย่งชิงตลาด ด้านผู้บริโภคจีนให้ความสนใจทุเรียนจากประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) จัดทำบทความ "จับตาสถานการณ์ทุเรียนไทย เมื่อคู่แข่งรุก บุกตลาดจีน" ช่วงทศวรรษที่ผ่านมาไทยครองแชมป์ผู้ส่งออก "ทุเรียน" อันดับ 1 ของโลก โดยเฉพาะในตลาดผู้บริโภค หลักของโลกอย่างจีน ซึ่งไทยครองส่วนแบ่งการตลาดเกือบทั้งหมด
แต่ในปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่คาดว่าจะเข้ามาสั่นคลอนตลาดทุเรียนไทย ทั้งฝั่งของคู่แข่งที่เข้ามาแย่งชิงตลาดมากขึ้นและผู้บริโภคชาวจีนที่ให้ความสนใจทุเรียนจากประเทศอื่นมากขึ้น ซึ่งบทความฉบับนี้ต้องการฉายภาพสถานการณ์ทุเรียนโลกที่ กําลังเปลี่ยนไป เพื่อให้ทุกฝ่ายรู้ลึก รู้ทัน และช่วยกันเตรียมรับมือกับความท้าทายจองทุเรียนไทยในอนาคต
ที่ผ่านมาตลาดทุเรียนไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากความนิยมบริโภคของจีนที่เพิ่มขึ้น โดยตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากความ ต้องการบริโภคทุเรียนของจีนที่เพิ่มขึ้นมากโดยในปี 2565 มูลค่าการส่งออกทุเรียนไทย ทําสถิติสูงสุดที่ 1.24 แสนล้านบาท ครองแชมป์ผลไม้ส่งออกอันดับ 1 ของไทย
รวมทั้งทุเรียนไทยเกือบทั้งหมดส่งออกไปตลาดจีนในรูปของทุเรียนผลสด เนื่องจากเดิมไทยเป็น ประเทศเดียวที่จีนอนุญาตให้ส่งทุเรียนผลสดไปขายมานานหลายปี และความนิยมบริโภคทุเรียนของจีนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาทุเรียนปรับตัวสูงขึ้น และเกษตรกร ไทยหันมาปลูกทุเรียนมากขึ้น ซึ่งในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ราคาทุเรียนเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 33 บาทเป็น 111 บาท/กก. และส่งผลให้พื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว
สถานการณ์ทุเรียนโลก กำลังเปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งฝั่งของผู้บริโภค และคู่แข่งผู้ปลูกทุเรียน อีกทั้งจีนยังต้องการบริโภคทุเรียนอีกมาก แต่เริ่มนําเข้าจากประเทศอื่นมากขึ้น ซึ่งจีนเป็นผู้บริโภค หลักที่น่าเข้าทุเรียนผลสดสูงถึง 80% ของปริมาณการนำเข้าทั่วโลก
เนื่องจากอัตราการบริโภคทุเรียนต่อคนของจีนยังไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับประเทศผู้บริโภค ทุเรียนอื่น ๆ แม้แต่กลุ่มเมืองใหญ่ของจีน ที่เป็นผู้บริโภคหลักใน ปัจจุบันก็ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีกเช่นกัน
ด้านการขนส่งของจีนมีการพัฒนาระบบขนส่งอย่างต่อเนื่อง ทําให้สามารถกระจายสินค้าไปยังเมืองรองด้านในและพื้นที่ชุมชนได้มากขึ้น รวมทั้งประเทศจีนเริ่มเปิดใจกับทุเรียนจากชาติอื่น สายพันธุ์อื่นมากขึ้น จากเดิมที่บริโภค ทุเรียนหมอนทองจากไทยเป็นหลัก
แต่เมื่อไม่นานนี้ ได้อนุญาตให้เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ส่งทุเรียนผลสดมาขายในจีนเช่นกัน
เวียดนาม ได้รับใบอนุญาตเป็นประเทศที่ 2 เมื่อ ก.ค. 65 และได้ส่งทุเรียน "หมอนทอง" เข้าไปขายในราคาใกล้เคียงกับไทย ทําให้ได้ส่วนแบ่งการตลาดใป กว่า 5% จากเดิมที่ไม่มี
ฟิลิปปินส์ ได้รับใบอนุญาตล่าสุดเมื่อช่วง ม.ค. 66 และเริ่มส่งทุเรียนพื้นเมือง "พันธุ์ปูยัด" เข้าไปให้ชาวจีนได้ลองทาน
อย่างไรก็ตามคาดว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า จีนมีโอกาสบริโภคเพิ่มขึ้น อีก 1 กก./คน/ปี แปลว่าจะต้องการทุเรียน เพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านตัน รวมทั้งแนวโน้มการแข่งขันในตลาดทุเรียนโลกรุนแรงขึ้น ทั้งจากไทยที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นกว่า 8% ต่อปี และประเทศคู่แข่งที่ขยายพื้นที่ปลูก เพื่อบุกตลาดส่งออกมากขึ้น
โดยเฉพาะตลาดทุเรียนผล สดในจีน ที่หลายประเทศเร่งพัฒนาคุณภาพทุเรียน และต่อคิวรอขอใบอนุญาตส่งออกทุเรียนสดจากจีนเช่นกัน รวมทั้งคู่แข่งแต่ละประเทศมีจุดแข็ง และระดับความน่ากังวลแตกต่างกัน
ทั้งนี้ภายในระยะ 3 ปีนี้ ยังไม่น่ากังวลมาก คาดว่าผลผลิตของคู่แข่งอาจยังเข้าสู่ตลาดจีนไม่มากนัก เนื่องจากต้องใช้เวลาพัฒนาคุณภาพทุเรียนขึ้นทะเบียนสวน โรงคัดบรรจุ และทำการตลาดในจีน หากรวมกับผลผลิตของไทยที่จะเพิ่มขึ้น จะเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับแนวโน้มการบริโภคของจีน แต่ราคาอาจถูกกดดันเป็นบางช่วง โดยเฉพาะช่วงที่ผลผลิตไทยและคู่แข่งออกพร้อมกัน
แต่ในระยะ 5 ปีข้างหน้า น่ากังวลมากขึ้น เมื่อคู่แข่งเริ่มปรับตัวได้ คาดว่าจะมีผลผลิตที่พร้อมส่งออกไปตลาดจีนเพิ่มขึ้นมาก และอาจมากกว่าแนวโน้มการบริโภคของจีน (Oversupply) ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อทั้งการส่งออก และราคาทุเรียนของไทยได้
แม้ทุเรียนไทยยังได้เปรียบคู่แข่งอยู่มาก แต่ต้องไม่ชะล่าใจ ควรร่วมมือกันพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าทุเรียนไทยกำลังจะเผชิญกับความท้าทายที่มากขึ้นในอนาคต แต่ไทยเองยังมีข้อได้เปรียบคู่แข่งอยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องปริมาณผลผลิตที่มีมาก คุณภาพทุเรียนที่เป็นที่ยอมรับ และประสบการณ์ส่งออกไปตลาดจีนที่ ยาวนาน
ดังนั้นหากทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนาทุเรียนไทยอย่างต่อเนื่อง อาทิ ทำการตลาดในเมืองรองของจีน รวมถึงประเทศอื่นรักษาคุณภาพทุเรียน โดยเฉพาะปัญหาทุเรียนอ่อนช่วงต้นฤดูกาลผลผลิต ส่งเสริมความรู้ เรื่องเทคนิคการปลูกทุเรียนเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และบริหารจัดการเส้นทางขนส่งทุเรียนให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ ก็จะทำให้ไทยสามารถป้องกันตำแหน่ง "แชมป์ส่งออกทุเรียนอันดับ 1 ของโลก" ได้ไม่ยาก
บทความโดย : ณิชมล ปัญญาวชิโรกุล กฤตยา ตรีวรรณไชย ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ