แก้เวียดนาม “เสี่ยงสุด” เผชิญลูกหลงสงครามการค้า

เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เสี่ยงที่จะเผชิญกับความเสียหายร้ายแรงจากสงคราม การค้าที่ตึงเครียดขึ้นระหว่างสหรัฐกับจีนโดยผลวิเคราะห์ของบริษัทวิจัย เอฟที คอนฟิเดน- เชีย รีเสิร์ช ระบุว่า เวียดนาม มีความเสี่ยงสูงที่สุด เนื่องจากมีระดับการส่งออกสูง

แม้เวียดนามที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการส่งออกเป็นประเทศที่เสี่ยงได้รับผลกระทบ โดยตรงจากภาวะชะลอตัวทั่วโลกมากที่สุด บัญชีเดินสะพัดที่เปราะบางของฟิลิปปินส์และ อินโดนีเซีย ทําให้ทั้ง 2 ประเทศเสี่ยงที่จะประสบวิกฤติดุลการชําระเงิน

ทําเนียบขาวได้ประกาศตั้งกําแพงภาษีโดยตรง 25% ต่อสินค้านําเข้าจากจีนมูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และอีกรอบหนึ่งมูลค่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ มีผลวันที่
23 สิงหาคมนี้ ขณะที่รัฐบาลจีนก็ได้ใช้มาตรการตอบโต้ลักษณะเดียวกัน

รัฐบาลสหรัฐกําลังพิจารณาเก็บภาษีระหว่าง 10 – 25% กับสินค้านําเข้าอีกมูลค่า 2 แสน ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ขู่ว่าจะเก็บภาษีมูลค่ารวม 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐจากจีน อีกทั้งยังเลือกทําสงครามการค้ากับสหภาพยุโรป (อียู) และพันธมิตร สหรัฐรายอื่นๆ

เวียดนาม พึ่งพาการส่งออกมากที่สุดในกลุ่ม 5 เสืออาเซียน โดยในช่วง 12 เดือนนับถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2561 เวียดนามส่งออกสินค้าคิดเป็น 99.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ (จีดีพี) มูลค่าการส่งออกรายปีของเวียดนามอยู่ที่ 2.26 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เวียดนามส่งออกไปสหรัฐมากที่สุดในกลุ่ม 5 ยักษ์ใหญ่อาเซียน อยู่ที่ 4.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ทําให้เป็นประเทศอ่อนไหวต่อความต้องการที่จะลดลงของผู้บริโภคในสหรัฐ ธนาคารกลางเวียดนามได้ทยอยอ่อนค่าเงินด่องที่ยึดโยงกับดอลลาร์ผ่านระบบปริวรรต เงินตราที่เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป เงินด่องอ่อนค่าลง 1.5% แล้วในปีนี้

เวียดนาม ไทย และมาเลเซีย อาจได้รับผลประโยชน์ในระยะยาว หากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เปลี่ยนทิศทางมาจากจีน กําแพงภาษีจะสนับสนุนให้จีนเร่งย้ายฐาน การผลิตไปยังประเทศเศรษฐกิจอาเซียนที่มีต้นทุนถูกกว่า

ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ค่าเงินร่วงลงอย่างรวดเร็ว ค่าเงินที่อ่อนค่าลงจะส่งผลให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเติบโตเร็วขึ้น และแรงกดดันเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างมาก

ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ประสบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมานาน ทําให้กลายเป็นประเทศที่เปราะบางมากต่อค่าเงินที่อ่อนค่าลง

 

แหล่งข่าว : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 14 สิงหาคม 2561

 

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)