เวียดนามเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสหรัฐกับอาเซียน

อาเซียนเป็นภูมิภาคที่พัฒนาอย่างคล่องตัว ตั้งอยู่ใจกลางของมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิก และนับวันมีบทบาทสำคัญในยุทธศาสตร์และนโยบายการต่างประเทศของประเทศมหาอำนาจต่างๆ รวมทั้งสหรัฐ นโยบายการต่างประเทศของสหรัฐและอาเซียนได้รับการกำหนดอย่างชัดเจน โดยเฉพาะยุทธศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิกและเวียดนามถือเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญ
 
หลังจากเข้ารับตำแหน่ง ทางการของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เสนอเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆในนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐในย่านเอเชียแปซิฟิก ตลอดจนมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิก โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อบทบาทของอาเซียน
 
ความได้เปรียบเพื่อแปรเป้าหมาย “เสรีภาพ” และ “เปิดกว้าง” ให้กลายเป็นความจริง
 
ในด้านภูมิศาสตร์การเมือง อาเซียนตั้งอยู่ในแถบมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิก ซึ่งเป็นภูมิภาคสำคัญเพื่อให้สหรัฐปฏิบัติและแปรเป้าหมาย “เสรีภาพ” และ “เปิดกว้าง” ในยุทธศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิกให้กลายเป็นความจริง กลไกและกรอบความร่วมมือภายใต้การนำของอาเซียนกำลังสร้าง “เวทีร่วม”ที่สหรัฐสามารถใช้แสวงหาและสถาปนาความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์และเป้าหมายต่อภูมิภาค
 
ในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนเป็นภูมิภาคที่พัฒนาอย่างคล่องตัวมีประชากร โดยเฉพาะประชากรที่อยู่ในวัยทำงานเป็นจำนวนมาก อาเซียนไม่เพียงแต่เป็นจุดหมายปลายทางของนักลงทุนเท่านั้น หากยังเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยศักยภาพต่อสหรัฐอีกด้วย ในฟอรั่มทั้งในระดับภูมิภาคและโลก สหรัฐได้ประกาศหลายครั้งว่า อาเซียนมีบทบาทเป็นศูนย์กลางในวิสัยทัศน์มหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิกที่สหรัฐกำลังยึดมั่นปฏิบัติ 
 
ซึ่งสิ่งนี้ถูกระบุในยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐเมื่อปี 2017 กฎหมายข้อคิดริเริ่มยืนยันอีกครั้งถึงการปกป้องเอเชียที่ประกาศในการสนทนาแชงกรีลาครั้งที่ 18 เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2019 ที่น่าสนใจคือในกฏหมายฉบับนี้ เวียดนามเป็นหนึ่งใน 4 ประเทศหลักที่ถูกสหรัฐกล่าวถึงในกรอบบทบาทของอาเซียนต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ของสหรัฐในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิก สหรัฐยังเข้าร่วมกลไกความร่วมมือนอกภูมิภาคโดยอาเซียนเป็นผู้ริเริ่ม เช่นฟอรั่มอาเซียนหรือเออาร์เอฟ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนขยายวงหรือเอดีเอ็มเอ็มบวก การประชุมผู้นำเอเชียตะวันออกหรืออีเอเอส ซึ่งได้สนับสนุนให้อาเซียนมีบทบาทเป็นศูนย์กลางในยุทธศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิก
 
สหรัฐยังกำหนดว่า อาเซียนเป็น “ปัจจัย” หลักในปัญหาทะเลตะวันออก เพราะนี่คือเขตทะเลที่มีความหมายสำคัญพิเศษต่อผลประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ช่วยเพิ่มอิทธิพลของสหรัฐในภูมิภาคนี้ ซึ่งมีส่วนร่วมเพิ่มคุณค่าทางภูมิศาสตร์-ยุทธศาสตร์ของอาเซียนในนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐต่อเอเชีย
 
เวียดนาม-สะพานเชื่อมอาเซียนกับสหรัฐ
 
นอกจากการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์และไทย ทางการของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ยังถือเวียดนามเป็นหุ้นส่วนสำคัญในนโยบายด้านการต่างประเทศกับอาเซียน หลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2017 เป็นเวลา 2 เดือน ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เข้าร่วมฟอรั่มความร่วมมือเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปกซึ่งจัดขึ้นที่เวียดนาม 
 
ส่วนเมื่อต้นปี 2019 นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เดินทางมาเวียดนามเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำสหรัฐ-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีครั้งที่ 2 ณ กรุงฮานอย ส่วนนายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก เป็นผู้นำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนแรกที่เดินทางไปเยือนสหรัฐเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2017 ส่วนในด้านการค้า เวียดนามกำลังช่วยเพิ่มบทบาทของสหรัฐในการเป็นผู้จัดสรรชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน ส่วนเวียดนามก็กลายเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่ส่งออกไปยังสหรัฐมากที่สุดทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพและมูลค่าของสินค้าที่นับวันเพิ่มมากขึ้น
 
ในปี 2020 เวียดนามดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนและร่วมมือกับสหรัฐจัดกิจกรรมต่างๆในโอกาสรำลึกครบรอบ 25 ปีการปรับความสัมพันธ์ด้านการทูตให้เป็นปกติ ผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนหลัก โดยสหรัฐเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของปีประธานอาเซียน 2020 ของเวียดนาม เวียดนามผลักดันความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และความสามัคคีของอาเซียนในการรับมือการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายจากภายนอก การปฏิบัติของอาเซียนต่อยุทธศาสตร์ ข้อคิดริเริ่มความร่วมมือภูมิภาคของประเทศใหญ่ ทัศนะอาเซียนเกี่ยวกับมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิกที่ได้รับการอนุมัติในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 ณ ประเทศไทยเมื่อปี 2019 คือแนวทางของอาเซียนในปี 2020 และในเวลาที่จะถึง นี่ก็คือสาส์นของอาเซียนต่อโลกโดยมีความประสงค์ที่จะร่วมกับหุ้นส่วนต่างๆ รวมทั้งสหรัฐเพื่อสร้างสรรค์ภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิกที่สันติภาพ เสถียรภาพและพัฒนาเจริญรุ่งเรือง
 
 
ที่มา vovworld.vn
วันที่ 14 กรกฏาคม 2563

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)