พีซีเอ – พื้นฐานสำคัญของความร่วมมือเวียดนาม – อียู

วันที่ 15 ธันวาคม การประชุมครั้งที่ 2 ของคณะกรรมการผสมเวียดนาม – สหภาพยุโรปเกี่ยวกับการปฏิบัติกรอบข้อตกลงหุ้นส่วนและร่วมมือในทุกด้านระหว่างเวียดนามกับอียูหรือพีซีเอและบรรดาประเทศสมาชิกได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอย ซึ่งประจวบกับโอกาสรำลึกครบรอบ 30 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเวียดนาม – อียู 28 พฤศจิกายน และภายหลัง 4 เดือนที่ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม – อียูหรืออีวีเอฟทีเอมีผลบังคับใช้เพื่อให้ความสัมพันธ์ร่วมมือเวียดนาม – อียูพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
ข้อตกลงพีซีเอที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมปี 2016 ไม่เพียงแต่ครอบคลุมความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังครอบคลุมด้านต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม พลังงาน เทคโนโลยี การบริหารภาครัฐ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การอพยพ ความมั่นคง การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและแก๊งอาชญากรรมด้วย
หลังการปฏิบัติมาเป็นเวลา 4 ปี พีซีเอได้สร้างก้าวกระโดดให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย สะท้อนความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับแนวโน้มแห่งยุคสมัยและมีผลประโยชน์ร่วมกัน
 
ขยายความร่วมมือในทุกด้าน :
 
ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับอียูได้พัฒนาอย่างข้ามขั้นในตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังจากที่พีซีเอมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนตุลาคมปี 2016 ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายได้พัฒนาอย่างกว้างลึก ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดผ่านการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีอีวีเอฟทีเอและข้อตกลงคุ้มครองการลงทุนหรืออีวีไอพีเอเมื่อปี 2019 และถึงเดือนสิงหาคมปี 2020 ข้อตกลงอีวีเอฟทีเอได้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ สร้างนิมิตหมายใหม่แห่งความร่วมมือและการพัฒนาระหว่างเวียดนามกับอียู แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการขยายความสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้งเวียดนามและอียู
 
อีวีเอฟทีเอได้สร้างแรงกระตุ้นให้แก่การลงทุนและประกอบธุรกิจของทั้งอียูและเวียดนาม สร้างกระแสการลงทุนที่มีคุณภาพจากทั้งสองฝ่าย สำหรับเวียดนาม การปฏิบัติข้อตกลงอีวีเอฟทีเอได้ช่วยเปิดตลาดให้แก่อุตสาหกรรมส่งออกหลักของเวียดนาม เปิดโอกาสให้เวียดนามเข้าถึงอุปกรณ์ เทคโนโลยีและเทคนิคขั้นสูงของอียู ปรับปรุงกลไก นโยบาย กฎหมายตามแนวทางที่โปร่งใสและสอดคล้องกับธรรมเนียมสากลนาย โด๋ทั้งหาย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เวียดนามเผยว่า            “ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม- อียูกำลังได้รับการปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อสินค้าประเภทต่างๆของเวียดนามในการส่งออกไปยังตลาดอียู นอกจากสัตว์น้ำ การส่งออกข้าวก็มีราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่อีวีเอฟทีเอมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ สินค้าหลายรายการยังมีศักยภาพสูงในการเพิ่มการส่งออกไปยังตลาดอียูในเวลาที่จะถึง”
 
ใช้ผลประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ :
 
ในเวลาที่จะถึง ความสัมพันธ์เวียดนาม – อียูมีแนวโน้มพัฒนามากขึ้นเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างมีความประสงค์ขยายความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยเฉพาะหลังจากมีสนธิสัญญาลิสบอน อียูมีความประสงค์ส่งเสริมบทบาทให้เข้มแข็งมากขึ้นบนเวทีโลก รวมทั้งขยายความสัมพันธ์กับยุโรปและเวียดนามซึ่งเป็นหุ้นส่วนชั้นนำของอียูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศเวียดนาม การขยายความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนพิเศษที่มีสมาชิกถึง 27 ประเทศดั่งเช่นอียู ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศพหุภาคีของเวียดนามเท่านั้น หากยังช่วยเวียดนามสร้างความสมดุลให้แก่ความสัมพันธ์กับบรรดาประเทศมหาอำนาจรวมถึงพัฒนาเป็นความสัมพันธ์ทวิภาคี ความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์หุ้นส่วนในทุกด้านกับประเทศสำคัญๆของอียู
 
ควบคู่กับความสัมพันธ์ทวิภาคี ในตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างเวียดนามกับหุ้นส่วนยุโรปได้พัฒนาอย่างเข้มแข็ง ซึ่งปัจจุบันนี้ สถานะของเวียดนามบนเวทีโลกและภูมิภาคนับวันได้รับการยกระดับ โดยเฉพาะหลังจากที่เวียดนามได้เสร็จสิ้นหน้าที่ประธานอาเซียนในปี 2020 และบทบาทสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี 2020-2021 ในสภาวการณ์ดังกล่าว เวียดนามและบรรดาประเทศอียูได้ส่งเสริมกลไกการแลกเปลี่ยนและประสานงานเพื่อร่วมกันรับมือความท้าทายระดับโลก ผลักดันลัทธิพหุภาคี การค้าเสรี การรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกและในทะเลตะวันออก เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามกฎหมายสากล รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982
 
บนพื้นฐานของผลประโยชน์ที่เหมือนกัน การขยายความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับอียูอย่างยุติธรรมและเอื้อประโยชน์ระหว่างกันคือความต้องการเชิงยุทธศาสตร์ของทั้งสองฝ่ายในเวลาที่จะถึง ซึ่งพีซีเอจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับอียูให้นับวันเข้าสู่ส่วนลึกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
ที่มา vovworld.vn
วันที่ 16 ธันวาคม 2563

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)