การพัฒนาสาขาโลจิสติกส์เพื่อขับเคลื่อนการส่งออกของเวียดนาม
รายงานดัชนีความสามารถสาขาโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index) ของธนาคารโลกเมื่อปี 2561 จัดลำดับเวียดนามเป็นลำดับที่ 39 และเป็นลำดับที่ 3 ของอาเซียน (เพิ่มขึ้น 26 ลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2559)
ในช่วงที่ผ่านมา เวียดนามได้จัดทำนโยบายและกฎระเบียบเกี่ยวกับสาขาโลจิสติกส์เสร็จสมบูรณ์แล้ว และได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ โดยการบริการด้านโลจิสติกส์เติบโต ร้อยละ 12–14 และคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 4–5 ของ GDP
ประธานสมาคมผู้ให้บริการโลจิสติกส์เวียดนาม กล่าวว่า เวียดนามมีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสินค้า ร้อยละ 85 จากตะวันออกถึงตะวันตก และเป็นพื้นที่เชื่อมโยงจีนกับอาเซียน สินค้านำเข้าและส่งออกของเวียดนามขนส่งทางทะเลมากถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางถนน ทางอากาศ และรถไฟเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง อาเซียน และยุโรป เวียดนามจึงสามารถเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียนได้ในทศวรรษ ค.ศ. 2030
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม กล่าวว่า การเข้าร่วมความตกลง CPTPP และ EVFTA อาจส่งผลกระทบต่อสาขาโลจิสติกส์ของเวียดนาม 2 ประการ ได้แก่ พันธสัญญาด้านการเปิดตลาดสาขาการขนส่ง และพันธสัญญาในสาขาที่อาจกระทบต่อขีดความสามารถของตลาดการให้บริการโลจิสติกส์ อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังมีข้อจำกัดและสิ่งที่ปรับปรุงสำหรับสาขาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์หลายประการ อาทิ อัตราค่าบริการด้านโลจิติกส์ที่ยังสูงมาก โดยจะต้องปรับให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างเครือข่ายทางหลวง รถไฟ และการบิน รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการด้านภาษีและศุลกากร และสนับสนุนกลุ่มอาชีพที่ฝึกปฏิบัติด้านโลจิสติกส์เป็นการเฉพาะเพื่อตอบรับกับความต้องการของสาขานี้ในอนาคต (Vietnam Business Forum Vol. 02, No. 20+1 (1305), 29 Dec 2020 – 25 Jan 2021)
ที่มา thaibiz-vietnam.com
วันที่ 27 มกราคม 2564