ฮานอยพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรม 43 แห่งภายในปี 2564
ฮานอยจะเริ่มการพัฒนา กลุ่มอุตสาหกรรมหรือคลัสเตอร์อุตสาหกรรม 43 แห่งโดยจะเริ่มในปี 2564 ตามแผนที่ได้วางไว้ในช่วงปี 2561-2563 คณะกรรมการประชาชนของกรุงฮานอยจะเริ่มพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรม 1 กลุ่มในไตรมาสที่ 1 จากจะพัฒนา 23 กลุ่มในไตรมาสที่ 2 พัฒนา 13 กลุ่ม ในไตรมาสที่ 3 และ 6 กลุ่มในไตรมาสที่ 4
ฮานอยกำลังมุ่งมั่นที่จะสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคให้สมบูรณ์สำหรับคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอย่างน้อย 20 แห่ง ขณะที่ดึงดูดการลงทุนไปยัง 10-15 คลัสเตอร์แล้ว
คลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่ดำเนินการทั้งหมดจะมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคที่สอดคล้องกับ ซึ่งจะได้รับการจัดการตามกฎระเบียบในปัจจุบัน นอกจากนี้สวนอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดจะมีสถานีบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐาน
นอกจากการผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคแล้ว ฮานอยจะกำหนดเงื่อนไขที่ดีสำหรับนักลงทุนเพื่อการลดขั้นตอนการลงทุน
ฮานอยได้พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและออกกฎระเบียบเกี่ยวกับราคาบริการในคลัสเตอร์อุตสาหกรรม รวมทั้งจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีผู้เข้าลงทุนเต็มในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ หน่วยงานที่มีอำนาจจะพยายามปรับปรุงการบริหารจัดการในกลุ่ม และเฝ้าระวังการใช้ที่ดินและการก่อสร้างที่ผิดกฎหมายในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ตลอดจนจะเข้มงวดในการตรวจสอบการจัดตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ตามกฎระเบียบที่มีอยู่
คลัสเตอร์อุตสาหกรรมคือปัจจัยสำคัญสำหรับกลยุทธ์การดึงดูดการลงทุนโโยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI ที่มีประสิทธิภาพ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจเวียดนาม ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และภายใต้สถานการณ์ที่อาจเห็นแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตอันเป็นผลมาจากผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกในช่วงการระบาดของโควิด -19 รวมทั้งแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ – จีน เวียดนามจึงมีโอกาสครั้งใหญ่ที่จะดึงดูด “การย้ายฐานการผลิต “ทุนต่างประเทศ
เวียดนามพลาดโอกาสในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศหลังจากวิกฤตการเงินในเอเชียในปี 2540-2541 แต่ต่อมาด้วยข้อตกลงการค้าทวิภาคีเวียดนาม – ญี่ปุ่น และความริเริ่มเวียดนาม – ญี่ปุ่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2550 คลื่น FDI ลูกใหม่ได้เข้ามายังเวียดนาม
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเติบโตเฉลี่ยที่มากกว่า 20% ต่อปี นับว่าเงินทุนจากการลงทุนจากต่างประเทศได้มีส่วนช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของเวียดนาม สัดส่วนใน GDP เพิ่มขึ้นจาก 2.1% ในปี 2532 เป็นประมาณร้ 20% ในปี 2561 การส่งออกของภาคการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคิดเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมากรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นครั้งแรกหลังจากเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมา 30 ปี ได้ออกมติเลขที่ 50-NQ/TW เกี่ยวกับการวางแนวทางเพื่อปรับปรุงนโยบายเพื่อยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของการลงทุนจากต่างประเทศภายในปี 2573 โดยคาดว่ามติดังกล่าวจะเปิดศักราชใหม่ ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ช่วยให้เวียดนามดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสูงขึ้น
เขตอุตสาหกรรมหลายร้อยแห่งและเขตเศรษฐกิจชายแดนหลายสิบแห่งมีการจัดตั้งขึ้นทั่วเวียดนามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีส่วนสำคัญในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตามยังไม่ได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเติบโตของเวียดนามได้นัก
แม้ยังมีประเด็นหลายข้อที่เป็นข้อถกเถียงเกี่ยวกับคลัสเตอร์อุตสาหกรรม แต่แนวทางที่ยึดการพัฒนาคลัสเตอร์เป็นวิธีการสร้างเครือข่ายการผลิตและห่วงโซ่คุณค่า พัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน และยกระดับการใช้กำลังการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของประเทศในระดับโลก การบูรณาการและการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศที่มีคุณภาพ
การพัฒนาคลัสเตอร์จะสร้างความแตกต่างในเชิงบวก เนื่องจากการกระจายของเทคโนโลยี การจัดสรรแรงงานที่ดีขึ้น การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการสร้างแบรนด์คลัสเตอร์ได้ดีขึ้น ผลประโยชน์จะทวีคูณด้วยเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามคลัสเตอร์ก็สามารถก่อให้เกิดผลเสียเช่น “สภาพการณ์ที่จำใจอยู่ต่อ” การขัดขวางการแข่งขัน การพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีอยู่และขัดขวางนวัตกรรม
ในเวียดนาม หมู่บ้านหัตถกรรม เขตอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจที่มีการผลิตเฉพาะด้านร่วมกัน และกิจกรรมทางธุรกิจหลายแห่งเกิดขึ้นตามเงื่อนไขบางประการ (ประวัติศาสตร์ สถานที่ตั้ง) และพัฒนาขึ้น โดยไม่มีการแทรกแซงโดยเจตนาของรัฐบาลหรือหน่วยงานท้องถิ่น คลัสเตอร์ที่สำคัญบางกลุ่ม ได้แก่ น้ำมันและก๊าซในตะวันออกเฉียงใต้ การท่องเที่ยวในภาคกลาง การผลิตทางการเกษตรในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ศูนย์กลางการผลิตสิ่งทอ รองเท้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รอบๆ เมืองโฮจิ มินห์ ซิตี้ และกลุ่มอุตสาหกรรมหนักในภาคเหนือ
อย่างไรก็ตามคลัสเตอร์ที่มีอยู่ขาดความยั่งยืน เพราะการเชื่อมต่อระหว่างกันที่จำกัด ทั้งภายในและภายนอกคลัสเตอร์ นอกจากนี้การสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง การก่อตัวทางอุตสาหกรรม ห่วงโซ่คุณค่า และเครือข่ายการผลิตยังไม่ได้รับความสนใจและการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากหน่วยงานและสมาคมอุตสาหกรรม คลัสเตอร์เหล่านี้ยังขาดโครงการระยะยาวและยั่งยืนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร
ที่มา thaipublica.org
วันที่ 28 มีนาคม 2564