เศรษฐกิจ ไทยรับมือกับ "โอมิครอน" ได้แค่ไหน?

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า หลังการระบาดของไวรัสโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอนแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก พร้อมความกังวลว่าจะแพร่ได้เร็วกว่าสายพันธุ์ เดลต้าที่มีความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ยิ่งกดดันบรรยากาศการท่องเที่ยว การใช้จ่าย และการลงทุน รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจ โลก สำนักวิจัยฯ จึงเตรียมตั้งคำถามว่า การระบาดของโอมิครอนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ไทย เพียงไร
 
 
สำนักวิจัยฯ ยังไม่ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของ เศรษฐกิจ ไทย จากที่เคยให้ไว้ที่ 3.8% เมื่อปลายเดือนพฤศจิ กายน แต่มองว่าการระบาดของสายพันธุ์ ใหม่ นี้นับเป็นความเสี่ยงสำคัญของเศรษฐ กิจ ไทย ส่วนจะกระทบมากน้อยเพียงใด และกระทบภาคส่วนใดทางเศรษฐกิจ ได้ประเมิน การเติบโตของ GDP ไทยออกเป็น 3 แนวทาง
 
1). โอมิครอนไม่ระคาย GDP ไทย โตได้ 3.8%ตามคาด – หากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันไม่เร่งขึ้น ยอดผู้ติดเชื้อยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ขณะที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข ยังสามารถรับมือกับสถานการณ์ ได้จนไม่ต้องมีมาตรการจำกัดกิจกรรม ทาง เศรษฐกิจ เพียงแต่การบริโภคสินค้าและบริการอาจชะลอในระยะสั้น โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหาร โรงแรม ขนส่งคน อาหาร และเครื่องดื่ม แต่น่าจะฟื้นตัวได้ภายในหนึ่งถึงสองเดือน คล้ายการระบาดรอบสองที่ผ่านมา นอกจากนี้ อาจเห็นการเปลี่ยนความคิด จากไม่สามารถป้องกันการระบาดได้ เป็นการต้องอยู่ร่วมกับโควิด จึงไม่มีการปิดเมือง หรือจำกัดการเดินทางและการใช้จ่ายใดๆ และต้องติดตามว่าสายพันธุ์ โอมิครอนอาจไม่ได้ส่งผลรุนแรงต่อสุขภาพ เท่าสายพันธุ์ เดลต้า เพียงแต่ต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
 
2).ไม่ล็อกดาวน์แต่กระทบภาคบริการไตรมาสแรก GDP ไทยทั้งปีโตเฉียด 3% - แม้ไม่มีการออกมาตรการจำกัดกิจกรรม ทาง เศรษฐกิจ อย่างเข้มงวด แต่การที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะกระทบความเชื่อมั่นผู้บริโภค และจะยิ่งส่งผลให้การบริโภคชะลอตัว ลง อย่างไรก็ดี สถานการณ์ น่าจะคล้ายช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนที่การใช้จ่ายแผ่วลง แต่เศรษฐกิจ ไทย ยังขยายตัวจากไตรมาสก่อนได้ ด้วยแรงขับเคลื่อนจากภาคการผลิตและการส่งออก กลุ่มที่ได้รับผลกระทบนอกเหนือจากภาคบริการและการท่องเที่ยว เดินทางแล้ว กลุ่มการบริโภคที่ต้องอาศัยความเชื่อมั่นผู้บริโภคและแนวโน้มเสถียรภาพการจ้างงาน เช่น รถยนต์ เสื้อผ้า และ เฟอร์นิเจอร์ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย
 
3).โอมิครอนลามภาคการผลิต ห่วงโซ่อุปทานชะงักงัน GDP ไทยเสี่ยงต่ำ 3% – หากปัญหาการระบาดลากยาวและรุนแรงจนส่งผลให้คนงานล้มป่วยหรือต้องมีมาตรการจำกัดจำนวนคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานจนกำลังการผลิตลดลง กระทบภาคการลงทุน อีกทั้งปัญหานี้กระจายไปยังประเทศต่างๆ จนโรงงานผลิตวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสำคัญต้องหยุดชะงัก มีผลให้ห่วงโซ่อุปทานในการผลิตสำคัญๆ ต้องพลอยชะงักงันไปด้วย เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ และอาหารแปรรูป เช่น ไก่แปรรูป และอาหารทะเลแช่แข็ง ซึ่งจะกระทบการส่งออกของไทยอีกทอดหนึ่ง แม้กำลังซื้อในต่างประเทศจะไม่ทรุดตัวก็ตาม เนื่องจากขาดแคลนสินค้าส่งออก อีกทั้งปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่สูงยังกดดันการค้าโลกต่อเนื่อง ได้
 
นอกจากภาคการผลิตแล้ว ภาคการก่อสร้างก็เสี่ยงชะลอตัว จากปัญหาขาดแคลนแรงงาน หรือมาตรการจำกัดคนในพื้นที่ ซึ่งรวมทั้งการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชน สำนักวิจัยฯ มองว่า เศรษฐกิจ ไทย ปี 2565 จะดีกว่าปี 2564 อย่างน้อยคนไทยมากกว่า70% ได้รับวัคซีนไปแล้ว และกำลังเดินหน้ารับเข็มกระตุ้นต่อเนื่อง อีกทั้งคนไทยได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับไวรัสนี้ได้ดีกว่าเดิม
 
โดยสรุป การระบาดของโอมิครอนน่าจะมีผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค ส่งผลให้การใช้จ่ายของประชาชนชะลอตัวชั่วคราวในช่วงปลายเดือนธันวาคมต่อเนื่องถึงเดือนมกราคม แต่หากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังต่ำกว่าระดับหนึ่งหมื่นรายต่อวัน การเกิดเวฟสี่เช่นนี้ก็ไม่น่ากระทบเศรษฐกิจ ไทย รุนแรง และอาจเห็นการบริโภคเร่งขึ้นหลังความเชื่อมั่นฟื้น หรือเกิด pent-up demand โดยเฉพาะเมื่อคนไทยได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นกันอย่างทั่วถึง และยอดผู้ติดเชื้อลดลง ขณะที่การท่องเที่ยวจากต่างชาติอาจลดลงกว่าที่คาดบ้าง แต่ไม่ได้คาดหวังมากนักจากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในช่วงไตรมาสแรก เพราะคาดว่านักท่องเที่ยวจะมามากกว่าหนึ่งล้านคนต่อไตรมาสในช่วงไตรมาสสามเป็นต้นไป ขณะที่จำนวนหลักแสนในช่วงไตรมาสแรกอาจลดลงบ้างก็ไม่น่ากระทบเศรษฐกิจ ไทย มาก
 
ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากมาตรการทางการคลังน่าจะพอพยุงกำลังซื้อได้ และเม็ดเงินราวสามแสนล้านบาทอาจหยิบมาใช้ได้ในช่วง แรกของการระบาด และหากยืดเยื้อก็สามารถกู้เพื่อพยุงเศรษฐกิจ ได้ ส่วนมาตรการทางการเงินก็น่าจะผ่อนคลายต่อเนื่องด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ 0.50%ต่อปี และเร่งปล่อยซอฟท์โลนเพื่อเสริมสภาพคล่อง ให้ธุรกิจ ขนาดเล็กและผู้ได้รับ ผลกระทบ จาก การ ระบาด รอบ นี้ โดยการส่งออกสินค้าน่าจะยังคงเป็นแรงพยุงเศรษฐกิจไทยได้ต่อเนื่อง อีกทั้งกำลังซื้อระดับกลาง-บนน่าจะยังแข็งแรงอยู่ เพียงรอความเชื่อมั่นและแรงจูงใจให้ใช้จ่ายจากมาตรการรัฐ ส่วนการท่องเที่ยวจากต่างชาติน่าจะยังเป็นตัวสนับสนุน เศรษฐกิจ ไทย ได้ในช่วงครึ่งปีหลัง
 
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 30 ธันวาคม 2564 

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)