ฮอนด้าเตรียมปิดรง.หลัก-เดินหน้าผลิตรถไฟฟ้า

โรงงานแห่งนี้ยังคงเปิดต่อไปเพื่อผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แต่จะปิดตัวอย่างสมบูรณ์แบบในสองหรือสามปีข้างหน้า และในส่วนของสายการผลิตรถยนต์จะปรับไปเป็นโรงงานผลิตรถยอร์ริของฮอนด้าในจังหวัดไซตามะเพื่อลดต้นทุนการซ่อมรถยนต์
 
ฮอนด้า มอเตอร์ เตรียมปิดโรงงานผลิตรถยนต์หลักไซยามะ ในจังหวัดไซตามะ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมปรับสายการผลิตไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในอนาคต หลังขีดความสามารถด้านการผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นลดลง40% หรือประมาณ 800,000 คัน จากช่วงปี 2545 ที่ผลิตรถยนต์ได้สูงสุด
 
ช่วงปลายปีที่แล้ว  ฮอนด้าประกาศแผนลดต้นทุนการผลิตในขั้นตอนการดำเนินธุรกิจต่างๆ รวมทั้งปรับระบบการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่และถอนตัวจากรายการแข่งรถฟอร์มูลา วัน พร้อมทั้งปรับสายการผลิตรถยนต์ทั้งหมดไปเป็นการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าทั้งคันตามที่บริษัทได้ประกาศแผนผลิตแต่รถไฟฟ้าภายในปี 2583
 
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา โตชิฮิโร มิเบะ ประธานบริษัทฮอนด้า ได้เข้าร่วมในพิธีปิดสายการผลิตรถยนต์ทั่วไปที่โรงงานซายามะ ท่ามกลางผู้บริหารระดับสูงไม่กี่คนที่เข้าร่วมในพิธีนี้เพราะการระบาดของโรคโควิด-19 แต่ได้มีการไลฟ์สตรีมเพื่อให้พนักงานแผนกต่างๆได้ชมพิธีปิดกันอย่างทั่วถึง ซึ่งในเนื้อหาของการไลฟ์สตรีมนี้ ประธานกล่าวทิ้งท้ายว่า “เราจะยังคงเดินหน้าผลิตรถยนต์ที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคต่อไปทั้งผู้บริโภคในญี่ปุ่นและต่างประเทศ”  
 
 โรงงานผลิตรถยนต์ซายามะของฮอนก้า เปิดดำเนินการเมื่อปี 2507 โดยผลิตรถยนต์ที่ทำให้ฮอนด้าเป็นที่รู้จักของบรรดาผู้บริโภคอย่างมาก รวมทั้งซีวิคที่มาพร้อมกับเครื่องลดการปล่อยไอเสียในปริมาณต่ำ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในตอนนั้น และแอคคอร์ด  เก๋งซีดานรุ่นเรือธงของฮอนด้า
 
ครั้งหนึ่งโรงงานซายามะทำหน้าที่เป็นเหมือน“โรงงานแม่”ของฮอนด้า  โดยเปิดตัวเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ที่ก้าวหน้ามากๆของบริษัท ทั้งยังส่งบรรดาวิศวกรประจำโรงงานไปทั่วโลกเพื่อกลับมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรถที่สายการผลิตที่โรงงานฮอนด้า
 
โรงงานแห่งนี้ยังคงเปิดเพื่อผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แต่จะปิดตัวอย่างสมบูรณ์แบบในสองหรือสามปีข้างหน้า และในส่วนของสายการผลิตรถยนต์จะปรับไปเป็นโรงงานผลิตรถยอร์ริของฮอนด้าในจังหวัดไซตามะเพื่อลดต้นทุนการซ่อมรถยนต์ของฮอนด้าและเพิ่มอัตราการผลิตรถ คนงานจำนวนมากจากโรงงานผลิตซายามะจะถูกถ่ายโอนไปยังโรงงานยอร์ริและโรงงานอื่นๆ โดยขณะนี้บริษัทยังไม่ได้ตัดสินใจเกี่ยวกับที่ตั้งโรงงานหลังจากโรงงานซายามะปิดตัวลงอย่างสมบูรณ์แบบ
 
แต่ละปีกำลังการผลิตรถจากโรงงานสามแห่งในญี่ปุ่นทั้งโรงงานในซายามะ โรงงานยอร์ริ และโรงงานซูสุกะอยู่ที่ประมาณปีละ 1 ล้านคันก่อนจะลดลงเหลือปีละกว่า800,000 คันเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม โฟริน บริษัทวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ ระบุว่า ค่ายรถญี่ปุ่นชั้นนำรายอื่นๆอย่างโตโยต้า ยังไม่มีแผนลดการผลิตโรงงานในญี่ปุ่นและยังคงยึดมั่นในนโยบายคงกำลังการผลิตรถไว้ที่จำนวนกว่า 3 ล้านคันต่อปี เช่นเดียวกับนิสสัน มอเตอร์ ที่มีขีดความสามารถด้านการผลิตในญี่ปุ่นที่ประมาณ 1.34 ล้านคัน สวนทางกับฮอนด้าที่ขีดความสามารถด้านการผลิตรถต่ำกว่าค่ายรถคู่แข่งทั้งสองค่าย
 
องค์ประกอบหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังการผลิตในญี่ปุ่นที่ลดลงของฮอนด้าคือการทำส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์ญี่ปุ่นได้น้อยลง เมื่อเทียบกับบรรดาค่ายรถคู่แข่งในตลาดโลก โดยในปีงบประมาณ2561 ฮอนด้าขายรถในญี่ปุ่นได้ 740,000 คัน หรือ 14%ของยอดขายรถยนต์ของบริษัททั่วโลก 
 
ส่วนโตโยต้า มียอดขายรถในประเทศอยู่ที่ 2.29 ล้านคัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 22% ของยอดขายรถโดยรวมทั่วโลก
นอกจากนี้ ฮอนด้ายังทำยอดขายในตลาดสหรัฐได้ 1.61 ล้านคัน หรือ 30% ของยอดขายรถยนต์โดยรวม  และในตลาดรถจีนทำยอดขายรถได้1.46 ล้านคัน หรือ 28% เพราะสัดส่วนการทำยอดขายรถในตลาดต่างประเทศค่อนข้างเยอะ 
 
“การปิดสายการผลิตรถยนต์ประกอบเสร็จที่โรงงานซายามะอาจจะทำให้ฮอนด้ามีกำลังการผลิตรถยนต์ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ อย่างรุ่นแอคคอร์ดและโอดิสซีซึ่งเคยผลิตที่โรงงานแห่งนี้ลดลง ”เซอิจิ ซูกิอูระ นักวิเคราะห์อาวุโสจากโทคาอิ โตเกียว รีเสิร์ช อินสติติว ให้ความเห็น
 
ขณะที่ความสำคัญของตลาดรถในจีนและในสหรัฐที่มีต่อยอดขายรถทั่วโลกของฮอนด้ากระตุ้นให้ฮอนด้าเร่งปิดสายการผลิตรถยนต์ใช้เครื่องยนต์สันดาปให้หมดภายในปี 2583 ขณะที่บรรดาค่ายรถญี่ปุ่นยังคงลีลอที่จะผลิตรถไฟฟ้าเพราะเครือข่ายสถานีชาร์จแบตเตอร์รียังมีไม่เพียงพอในญี่ปุ่นและรถที่ใช้พลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่มีสัดส่วนเพียงน้อยนิด
 
บรรดาผู้บริโภคยังคงลังเลใจที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าทั้งคัน ตราบใดที่สถานีชาร์จแบตเตอร์รี่ยังไม่แพร่หลายหรือมีกระจายตามจุดต่างๆที่หาได้ง่าย เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีอีวีเพื่อลดการปล่อยก๊าซไอเสียและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผลถ้าการผลิตกระแสไฟฟ้ายังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล
 
ขณะที่ในตลาดสหรัฐ จำนวนคู่แข่งในตลาดรถอีวีมีมากกว่า เช่นเทสลา และริเวียน ออโตโมทีฟ ขณะที่คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดนมีนโยบายส่งเสริมการใช้รถอีวี      
 
เช่นเดียวกับรัฐบาลจีนที่สนับสนุนบรรดาผู้ประกอบการรถที่พยายามผลิตรถอีวี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บรรดาผู้ขับขี่รถสามารถเป็นเจ้าของรถอีวีขนาดเล็กได้ที่ราคาประมาณ 5,00,000 เยน (4,300 ดอลลาร์)และรถยนต์ของจีนก็เป็นที่ยอมทั้งในประเทศ และต่างประเทศคือทั้งในตลาดจีนและตลาดสหรัฐ ฮอนด้าจึงอยู่ในฐานะที่ดีกว่าค่ายรถญี่ปุ่นอื่นๆหากต้องการเปลี่ยนไปผลิตรถอีวีทั้งหมด
 
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)