ตรวจโควิด19 ต้องไปตอนไหนเช็กอาการและสาเหตุทั้งหมดมัดรวมไว้ให้แล้ว

ตรวจโควิด 19 ต้องไปพบแพทย์ตอนไหนเพื่อเช็กอาการ และ สาเหตุทั้งหมดก่อนไปโรงพยาบาลมัดรวมไว้ให้แล้วอ่านรายละเอียดด่วน
 
ตรวจโควิด 19 ควรจะไปตอนไหนแม้โควิดแพร่ระบาดกว่า 2 ปี ทุกคนก็ยังมีข้อสังสัยและตั้งคำถาม ควรตรวจโควิด 19 ตอนไหนหากมีอการและสาเหตุ
 
“ฐานเศรษฐกิจ” ได้สืบค้นข้อมูลจาก โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล หนองแขม ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตรวจโควิด 19 ทั้งอาการและสาเหตุต้องเข้าเกณฑ์ดังนี้
* มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาขึ้นไป
หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
* ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
 
นอกจากนี้อาการโควิด19 ระลอกใหม่ที่ระบาดในช่วงเดือน เม.ย.64 นี้ พบผู้ป่วยมีอาการทางผิวหนังเพิ่มเติม ได้แก่
* มีผื่นขึ้นที่เท้า หรือนิ้วเท้า โดยมีลักษณะเฉพาะเป็นตุ่มหรือผื่นแดง ลักษณะคล้ายตาข่าย หรือเส้นใยเล็ก ๆ ขึ้นที่เท้า หรือบริเวณผิวหนังส่วนอื่น ๆ มักพบในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก
ข้อสังเกต ผื่นโควิด19
* มีผื่นแดง ลักษณะคล้ายตาข่าย
* มีจุดเลือดออก
* มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
*  บางรายอาจมีลักษณะตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส
*  ซึ่งจะเกิดอาการฉับพลัน ร่วมกับอาการมีไข้ ไอ จาม และระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ
* บางรายอาจมีอาการเกี่ยวกับตา เช่น เยื่อบุตาอักเสบหรือบวม ,ตาแดง,น้ำตาไหล,ระตายเคืองตา,คันตา,มีขี้ตา,ตาสู้แสงไม่ได้
* ผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
* ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
* เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่สงสัย หรือผู้ป่วยยืนยันว่าเป็นโควิด19
* เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน
 
ประชาชนทั่วไปเมื่อไหร่ ต้องไปตรวจโควิด19 แบบเข้าใจง่าย ๆ เป็นกรณี
 
กรณีที่ 1 :
* ไม่มีอาการ ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และไม่ได้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง
 ไม่ต้องไปตรวจ
 
กรณีที่ 2 :
* ไม่มีอาการ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ยังไม่ต้องไปตรวจ “กักตัวเอง 14 วัน” สังเกตอาการตัวเอง หากมีไข้สูงขึ้น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อยให้ไปตรวจ 
 
กรณีที่ 3 :
*  มีไข้ ไอ มีน้ำมูก แต่ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และไม่ได้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ยังไม่ต้องไปตรวจ “กักตัวเอง 14 วัน” สังเกตอาการตัวเอง หากมีไข้สูงขึ้น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อยให้ไปตรวจ
 
กรณีที่ 4 :
*  มีอาการเล็กน้อย มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ให้รีบไปตรวจหาเชื้อโควิด19
 
กรณีที่ 5 :
* มีไข้สูง ไอ หอบเหนื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หรือมีอาการตาแดง เป็นผื่น ให้รีบไปตรวจหาเชื้อโควิด19
 
กรณีที่ 6 :
*  มีไข้สูง ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย + เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว และมีอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน  ให้รีบไปตรวจหาเชื้อโควิด19
 
เมื่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ควรทำอย่างไร?
 
กลุ่มที่ 1
* ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือมีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ มีการพูดคุยกันตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไป โดยที่ไม่ใส่หน้ากากอนามัย มีการไอ จามใส่กัน มีการกินอาหารจาน ช้อน หรือดื่มเครื่องดื่มแก้วเดียวกัน หรืออยู่ในห้องเดียวกัน นานกว่า 15 นาทีโดยที่อากาศไม่ถ่ายเท และไม่มีการใส่หน้ากากอนามัย
 
สิ่งที่ต้องดำเนินการ :
 
* กักตัว 14 วัน จะเป็นแบบกักตัวเองที่บ้าน หรือในสถานที่ราชการกำหนด (แล้วแต่กรณี)
* ตรวจหาเชื้อโควิด19
ครั้งที่ 1 หลังจากที่ทราบว่าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แม้ว่าผลการตรวจในครั้งแรกจะเป็นลบ ก็ยังไม่ได้บอกว่าจะปลอดภัย ขอให้กักตัวอยู่ที่บ้าน และใส่หน้ากากอนามัยให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ไม่ควรอยู่ที่ชุมชน หรือพบปะบุคคลอื่นเด็ดขาด
ครั้งที่ 2 หลังจากตรวจครั้งที่ 1 ไปแล้ว 7 วัน
ครั้งที่ 3 หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการ สามารถตรวจเพิ่มเติมได้
กลุ่มที่ 2 : ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ สามารถทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตปกติได้ แต่แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการพบปะคนหมู่มาก และสังเกตอาการตัวเอง
 
สำหรับผู้ที่ไปตรวจหาเชื้อโควิด19 ระหว่างรอผลตรวจควรทำอย่างไร :
 
1. งดออกจากที่พัก หรือจังหวัดที่อาศัย
2. งดไปสถานที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด หรือมีคนเยอะ
3. งดใกล้ชิดครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก
4. ใส่หน้ากากอนามัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
5. กักตัวต่อให้ครบ 14 วัน หรืออย่างน้อย 3-5 วันหากเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว
 
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 21 เมษายน 2565

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)