การเติบโตและความเรืองรองของอาเซียนหลังจากวิกฤติโควิด-19
แม้ภูมิภาคอาเซียนจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 จนทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง แต่ยังคงมีศักยภาพดึงดูดการลงทุน โดยสัดส่วนของ FDI ทั่วโลกในอาเซียนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.9 ในปี 2562 เป็นร้อยละ 13.7 ในปี 2563 ขณะที่ FDI ภายในอาเซียนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 17 นอกจากนี้ มูลค่าการกู้ยืมเงินสำหรับโครงการต่าง ๆ ในอาเซียนเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว
จาก 3.7 หมื่นล้านในปี 2558-2560 เป็น 7.4 หมื่นล้านในปี 2561-2563 อาเซียนจึงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องและน่าจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกภายในปี 2573 ขยับขึ้นจากอันดับที่ห้า
ปัจจัยที่ทำให้อาเซียนเติบโตและพัฒนาอย่างครอบคลุม ได้แก่
(1) การร่วมมือของประเทศอาเซียนเพื่อรับมือผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งเพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคและการไหลเวียนของสินค้าจำเป็น รวมทั้งข้อริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูและสร้างเสริมความยืดหยุ่น
(2) ความตกลง RCEP ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 1 ม.ค. 2565 ซึ่งสนับสนุนการค้า การลงทุน และการบริการเสรีระหว่างประเทศภาคี
ความตกลง ส่งเสริม FDI ที่ยั่งยืนในภูมิภาค รวมทั้งการพัฒนา e-commerce ซึ่งมีความสำคัญต่อห่วงโซ่มูลค่าและตลาดในภูมิภาค
(3) ข้อริเริ่มที่ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอาเซียน โดยอาเซียนได้ริเริ่มการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เช่น Consolidated Strategy on the Fourth Industrial Revolution (4IR) และ ASEAN Digital Integration Framework เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
การลงทุนโดยภาคเอกชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล (โครงข่าย 5G และศูนย์ข้อมูล) ระบบ cloud computing ความมั่นคง
ทางไซเบอร์ ปัญญาประดิษฐ์ การผลิตอัจฉริยะ และการเชื่อมโยงทางดิจิทัล
นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ยืดหยุ่น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบนิเวศน์ที่เกื้อกูลต่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและนวัตกรรม โดยรัฐบาลสร้างแรงจูงใจการลงทุนใน R&D ในขณะที่ภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อนด้วยการลงทุนในระบบดิจิทัลสำหรับการผลิต การใช้ระบบการผลิตที่ก้าวหน้า การสร้างโรงงานอัจฉริยะ การจัดตั้งระบบวิจัยและพัฒนา ศูนย์เทคโนโลยี และศูนย์ความเป็นเลิศในภูมิภาค
ทั้งนี้ การก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 จำเป็นต้องคำนึงถึงความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ไม่สามารถแยกออกจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยอาเซียนได้แสดงความมุ่งมั่นต่อความพยายามแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนทางภาคเอกชนยังต้องให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนการลงทุนผ่านเทคโนโลยีสีเขียวเพื่อให้อาเซียนสามารถบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้
จะเห็นได้ว่าอาเซียนมีศักยภาพที่จะมุ่งหน้าไปสู่ทิศทางที่ดีในอนาคตภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยีสีเขียวเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทย ผู้ประกอบการไทยจึงควรคำนึงถึงการมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาธุรกิจและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน เพื่อนำไปสู่การเติบโตและความรุ่งเรืองของภูมิภาคที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน
ที่มา globthailand
วันที่ 21 เมษายน 2565