10 สินค้าส่งออกดาวรุ่งไทย ความท้าทายใหม่ท่ามกลางวิกฤติอาหารโลก
วิกฤติอาหารโลก โอกาสสินค้าไทย เปิด10สินค้าส่งออกดาวรุ่งไทย ความท้าทายใหม่ท่ามกลางสงครามระหว่างประเทศ-อาหารโลกขาดแคลน
ปัญหาปากท้อง ถือเป็นปัญหาต้นๆที่ส่งผลต่อคุณภาพของชีวิตประชากร วิกฤติอาหารราคาแพงถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทั่วทั้งโลกต่างเผชิญกันอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูล ที่ส่อให้เห็นถึงวิกฤติราคาอาหารแพงทั่วโลก โดยจากรายงาน FAO ระบุว่าดัชนีราคาอาหาร (Food Price Index) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงรายเดือนของสินค้า อาหารและโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายมากที่สุดทั่วโลก
ราคาอาหารที่แพงขึ้นนำมาสู่ความไม่มั่นคงด้านอาหาร (Food Insecurity) เมื่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตพุ่งสูงขึ้น เช่น ข้าว ขนมปัง เนื้อสัตว์ นม ไข่ นั่นแปลว่าประชาชนต้องหักส่วนรายได้เพื่อมาใช้จ่ายในส่วนนี้มากขึ้น สำหรับประเทศที่ค่าครองชีพมีความสอดคล้องกัน
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกกิติมศักด์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปข้าวสาลี เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ปัจจุบันสถานการณ์การค้าของโลกและไทยต่างได้รับความท้าทาย ในการรับมือกับสถานการณ์ ทั้งภาวะวิกฤติโควิด และ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ เช่น สงครามรัสเซียและยูเครนที่ จะครบ 3 เดือนในวันที่ 24 พ.ค.นี้ ซึ่งจากสงคราม
ได้ส่งผลต่อซัพพลายเชนห่วงโซ่การผลิต ราคาสินค้า ภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูงขึ้นทั่วโลกและไทย และยังส่งผลต่อด้านต้นทุนการผลิตสินค้า เช่น ราคา พลังงาน ค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น การขาดแคลนสินค้าเกษตร อย่าง ข้าวสาลี น้ำมัน และปุ๋ย ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังสินค้าเกษตร ทั้งผักผลไม้ และ อาหารสัตว์เลี้ยงและ สินค้าปศุสัตว
สำหรับสถานการณ์การส่งออกอาหารของไทยล่าสุด - สภาหอการค้าฯ-สภาอุตสาหกรรม-สถาบันอาหาร เผยส่งออกอาหารไทยไตรมาสแรกปี 2565 มูลค่า 286,022 ล้านบาท โต 28.8%คาด ครึ่งปีหลังโตลดลง ท่ามกลางแรงกดดันด้านต้นทุน เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น และความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอย กระทบกำลังซื้อ คงเป้าส่งออก ทั้งปี 1.20 ล้านล้านบาท โต 9.3%
แนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารไทยในช่วง 3 ไตรมาสที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่า 913,978 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และคงคาดการณ์ส่งออกทั้งปีไว้ที่ 1,200,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 - ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกที่เติบโตในไตรมาสแรกปี 2565 : ประเทศคู่ค้านำเข้าสินค้าอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัว จากการเตรียมเปิดประเทศ (Reopening) รับการท่องเที่ยว และจากการผ่อนมาตรการในช่วงการแพร่ระบาดโค วิด19 อีกทั้งปัจจัยด้านค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารที่ผลิตเพื่อการส่งออก - อุปสรรคและความท้าทาย การส่งออกที่เติบโตในไตรมาสแรกปี 2565 : ปัญหาด้านการขนส่งที่กระทบต่อการส่งออก ทั้งจากที่จีนมี มาตรการนโยบาย “Zero-COVID” ค่าระวางเรือ และการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์
นอกจากนั้นยังมีปัญหาสำคัญอย่างด้านต้นทุนการ ผลิตและค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบต่อราคาวัตถุดิบอาหาร พลังงาน รวมทั้งปัจจัยการผลิต สำคัญทั่วโลก โดยในวิกฤติของสถานการณ์ปัจจุบัน ก็ยังมีโอกาสสำหรับสินค้าอาหารไทย เนื่องจากทุกประเทศได้ให้ความสำคัญในความ มั่นคงทางอาหาร ดังนั้นสินค้าไทยจึงได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบ ทำให้สินค้าบางตัวเติบโตและบางตัวหดตัวลง เป็นสินค้าดาวรุ่งและ สินค้าที่ต้องติดตาม
ทั้งนี้10สินค้าดาวรุ่งที่จะเป็นโอกาสของการส่งออกไทยประกอบด้วย
(1)ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ไตรมาส1 2565 มีการเติบโต 17.4% เนื่องจากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพภาพ โดยเฉพาะในตลาดจีน ที่มีการนำเข้าไปชดเชยสินค้าข้าวโพดในประเทศจีน
(2)อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปจะได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติต่างๆ แต่ในไตรมาส 1 ปี2565 มีการเติบโตถึง ร้อยละ 15 เนื่องจากตลาดมีความต้องการที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย อีกทั้งธุรกิจร้านอาหารและโรงแรมใน สหรัฐอเมริกาและยุโรปเริ่มทยอยฟื้นตัว และอีกปัจจัยที่ทำให้การเติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากหลายประเทศให้ความกังวลในการขาดแคลน อาหารอีกครั้ง
(3)สินค้าข้าวไตรมาส 1 ปี2565 เติบโตร้อยละ 30 ซึ่งมีผลมาจาก การที่ปีนี้มีผลผลิตในตลาดมาก เนื่องจากปริมาณน้ำฝนอุดมสมบูรณ์ แต่ยังต้องติดตามเรื่องราคาปุ๋ย และต้นทุนด้านการเกษตรต่อไป โดย ต้องมีการหาความร่วมมือ ส่งเสริมเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าข้าว ทดแทนสินค้าข้าวสาลี ทีกำลังขาดแคลนในตลาดโลก
(4)น้ำตาล ภาพรวมของตลาดน้ำตาลในปีนี้มีแนวโน้มจะสดใส ส่งผลให้ในไตรมาส1 ปี2565 เติบโตที่ร้อยละ 198 อีกทั้ง น้ำตาลอ้อยยังเป็นวัตถุดิบทำน้ำตาลที่สามารถเป็นสินค้าพลังงาน ได้ด้วยเช่นกันในบางประเทศจึงหันไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ทดแทน ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างมาก
(5)ไก่แปรรูป ความต้องการสินค้าไก่แปรรูปไทยมีมาก เนื่องจากปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์ปีกในหลายประเทศ เช่นในยุโรป อีกทั้งมาเลเซียมี ประกาศห้ามส่งออกไก่ตั้งแต่1 มิถุนายน จึงเป็นโอกาสอันดีของไทยในการส่งออกไก่ไปยังคู่ค้าของมาเล แต่อุตสาหกรรมไก่ยังเจอผลกระทบ ด้านการขาดแคลนแรงงาน โดยไตรมาส1 ปี 2565 เติบโตร้อยละ 28
(6)ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ในไตรมาส 1 ปี 2565 ผลไม้กระป๋องและแปรรูปเติบโตที่ร้อยละ 22.5 โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกระแสรักสุขภาพ และการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจกิจโดยเฉพาะร้านอาหาร โรงแรม ทั้งในและต่างประเทศ
(7)เครื่องดื่ม สินค้าเครื่องดื่มปัจจุบันมีการพัฒนาออกมาหลายประเภท เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า โดยเฉพาะในแง่ของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และ เครื่องดื่ม วิตามิน functional drink ทำให้เป็นโอกาสที่ดีในการเติบโตในตลาดเอเชีย จีน และยุโรป โดยในไตรมาส1 ปี2565 เติบโตที่ร้อยละ 6.4
(8)ไขมันและน้ำมัน หลายประเทศมีการให้ความสำคัญในความมั่นคงทางอาหารในประเทศ ทำให้บางประเทศได้ออกมาตรการระงับห้ามส่งออกน้ำมันพืชเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อปรับสมดุล เรื่องระดับราคาในประเทศแต่เมื่อถึง ราคาที่ลดลงมาระดับหนึ่งรัฐบาล ก็ ต้องปรับ ให้ส่งออกได้ทันทีเพื่อไม่ใ ห้เกิด ผลกระทบกับเกษตรกรราคาน้ำมันในตลาดจึงปรับตัวสูงขึ้นโดย ในไตรมาส1 ปี2565 เติบโตที่ร้อยละ 241
(9)ซอสและสิ่งปรุงรสและซุป อาหารปรุงแต่ง กลุ่มซอสปรุงรส ในไตรมาส 1 ปี2565 มีมูลค่าการส่งออกเติบโตที่ร้อยละ 25 ซึ่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมาสินค้ากลุ่มนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
(10)อาหารอนาคต สินค้าอาหารอนาคตกำลังเติบโตและเป็นที่นิยมในตลาดโลกเนื่องจากตอบโจทย์กระแสสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งสินค้าอาหาร อนาคตปัจจุบันมีการพัฒนาและความหลากหลายมากขึ้น สินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมได้แก่ อาหารจากพืช Plant based food & Plant based Protein
สินค้าแมลง กลุ่มสินค้าอาหารสุขภาพ Functional Food & Drink เป็นต้น ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 มีการเติบโตถึงร้อยละ 24 แม้ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกจะไม่ได้สูงมาก แต่เป็นสินค้าดาวรุ่งของไทยที่มีการ เติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่สนใจในตลาดโลก ทั้งเอเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และตลาดสหภาพยุโรป
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 27 พฤษภาคม 2565