"จุรินทร์" ชี้รัฐ-เอกชน ต้องร่วมมือตั้งรับการกีดกันทางการค้าใหม่ๆ-ห่วงศก.โลกชะลอตัว

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยระหว่างปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ ‘Enhancing Trade Facilitation for Thailand Competitiveness : เปิดการค้าไทย มิติใหม่สู่สากล’ ภายในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 40 ผ่านระบบออนไลน์ ว่า ปัจจุบันประเทศยังอยู่บนความท้าทายของโควิด-19 ซึ่งปัจที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้า นอกจากเรื่องโควิดแล้ว ยังต้องเผชิญกับเรื่องการกีดกันทางการค้า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความร้อนของภูมิรัฐศาสตร์โลก หรือการนำเรื่องการเมืองกับเศรษฐกิจมามัดรวมกัน มีการแบ่งฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั่วโลกต้องเผชิญเช่นเดียวกัน แม้ไทยจะยังมีปัจจัยลบที่ต้งติดตาม แต่อย่างน้อยที่สุดในการประชุมเอเปค ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าเรามีพันธมิตรใหม่เพิ่มเติมเข้ามา ที่น่าจะเป็นที่พึ่งได้ต่อไปในอนาคต คือ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่ถือเป็นตลาดใหญ่ ทั้งเรื่องการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
 
“เพราะฉะนั้น ไทยต้องแสดงจุดยืนให้มีความชัดเจน และต้องมีความชัดเจนในการเดินหน้าในรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่นี้ ให้เกิดประโยชน์กับเรา อย่างน้อยที่สุดเราอยู่ในวงอาเซียน เราต้องจับมือกับอาเซียนให้แน่นเหนียว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศของเรา” นายจุรินทร์ กล่าว
 
ทั้งนี้ ในส่วนของเรื่องการกีดกันทางการค้า มองว่าหลังจากนี้จะมีรูปแบบใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติมมากขึ้น คาดว่าไม่ใช่เรื่องภาษี ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเตรียมรับมืออย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การใช้เวทีพหุพาคีเป็นเวทีขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า และการลงทุน ในกลุ่มประเทศหรือเขตเศรษฐกิจเอเปค ดีกว่าการที่จะให้ประเทศใดประเทศหนึ่งมากำหนดกติกาให้ประเทศขนาดเล็ก หรือประเทศที่กำลังพัฒนาเสียเปรียบประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าไปตกลงกันแค่ 2 ประเทศ เป็นต้น
 
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ส่วนเรื่องที่อยากเน้นย้ำ และตรงกับที่ทางหอการค้าฯ ให้ความสำคัญ คือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเอสเอ็มอี และไมโครเอสเอ็มอี ซึ่งที่ประชุมเอเปค มีการพูดถึงเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการให้ความสำคัญกับเอสเอ็มอี ไมโครเอสเอ็มอี สตรี และกลุ่มเปราะบาง ให้เข้ามามีโอกาส และมีบทบาทเรื่องเศรษฐกิจการค้า และการลงท่องเที่ยว ของกลุ่มสมาชิกเอเปคมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยเห็นด้วยกับเรื่องนี้ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
 
“สิ่งที่ต้องจับตาอีกเรื่องคือ การให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจแบบยั่งยืน หรืออย่างยั่งยืน เพราะว่ามันเป็นเหรียญสองด้าน คำว่ายั่งยืนนิยามกว้างมาก แต่ยังอย่างน้อยก็มีเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ในนั้น และยังมีอีกหลายเรื่องที่หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นให้ความยั่งยืนที่ว่านี้ มาผูกติดกับการค้า เศรษบกิจ และการลงทุน ในกลุ่มประเทศเอเปคได้ และจะถูกขับเคลื่อนในองค์การการค้าโลก (ดับเบบิ้ลยูทีโอ) ที่จะกลายเป็นกติกาโลกต่อไปในอนาคต ส่วนเหรียญด้านลบ คืออาจถูกหยิบยกมาเป็นเครื่องมีในการกีดกันทางการค้าโลกและการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เราต้องเตรียมรับมือ” นายจุรินทร์ กล่าว
 
นายจุรินทร์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ต้องติดตามการใช้ภาษีข้ามพรมแดม (ซีแบม) ที่ดูจากการปล่อยคาร์บอร์นของสินค้าและบริการที่จะเข้าไปยังสหภาพยุโรป และสหรัฐ ซึ่งคาดว่ากฎหมายของสหรัฐจะออกมาในปี 2567 จะกลายเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่เป็นการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องคำนึงถึง และสำคัญอย่างยิ่งกับสภาหอการค้าฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาคการผลิต การแปรรูปและการตลาด
 
นายจุรินทร์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งเมื่อดูตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 อยู่ที่ 6% แต่ในปี 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.2% และคาดการณ์ว่าในปี 2566 จะอยู่ที่ 2.7% สะท้อนให้เห็นกราฟอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องนี้กระทบกับภาคการลงทุน และท่องเที่ยว ซึ่งภาคเอกชนจะต้องจับมือกับภาครัฐผ่านปัญหานี้ไปให้ได้ต่อไป
 
ที่มา : มติชน ออนไลน์
 

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)