CPF รั้งผู้นำผลิตภัณฑ์อาหาร ติดTOP5% ดัชนีความยั่งยืน S&P Global

CPF รักษาความเป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร ติด TOP5% ดัชนีความยั่งยืน S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
 
จากกรณีที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจรทั้งสัตว์บก และสัตว์น้ำ ครอบคลุมประเภทสัตว์หลักได้แก่ สุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด กุ้ง และ ปลา ในปี 2564 มีรายได้จากการขาย 512,704 ล้านบาทในปี 2564 
 
ล่าสุด ซีพีเอฟ ยังคงรักษาความเป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร   (Food Products) ได้รับการจัดลำดับด้านความยั่งยืน Top 5% ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เผยแพร่ในรายงาน The Sustainability Yearbook 2023 ของ S&P Global  
 
 ต่อเรื่องนี้ นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ เปีดเผยว่า S&P Global ได้ประกาศรายชื่อให้ ซีพีเอฟ เป็นองค์กรชั้นนำที่เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ได้รับการบันทึกในรายงาน The Sustainability Yearbook 2023  คะแนนติดอันดับ Top 5%  ของโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร รักษาตำแหน่งต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 สะท้อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน  ด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม  สังคม และมีธรรมาภิบาล (ESG) เดินหน้าสร้างความมั่นคงทางอาหาร ภายใต้วิสัยทัศน์เป็น"ครัวของโลก"      
 
อย่างไรก็ตาม ซีพีเอฟ ยังมุ่งดำเนินธุรกิจตามแนวทาง BCG (Bio-Circular-Green Economy) และ มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ได้ประกาศเป้าหมายลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ในปี 2050  โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ซีพีเอฟ  บรรลุเป้าหมาย Coal Free ยกเลิกการใช้ถ่านหิน 100% สำหรับกิจการประเทศไทย และ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ทั้งในรูปแบบของไบโอแก๊ส (Biogas) พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ทุกรูปแบบทั้งโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) และโซลาร์บนทุ่นลอยน้ำ (Solar Floating)
 
นอกจากนี้ บริษัทฯให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำเกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด     การจัดหาวัตถุดิบด้วยความรับผิดชอบจากแหล่งที่ไม่ตัดไม้ทำลายป่า 100 %   พัฒนานวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาใช้ตลอดกระบวนการผลิต   ดูแลสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมของพนักงาน คู่ค้า และชุมชน การส่งเสริมคู่ค้าธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล  รวมไปถึงมีส่วนร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน  และการปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ
 
 
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
 

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)