ไทย ดันเวทีสุดยอด 6 ประเทศแม่โขง-ล้านช้าง เน้นย้ำความร่วมฝ่าวิกฤตโลกร้อน

ประเทศไทย ผลักดัน การประชุม 6 ประเทศสมาชิก ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ณ กรุงปักกิ่ง เน้นย้ำความร่วมมือบริหารจัดการน้ำให้ผ่านสถานการณ์โลกร้อน และความต้องการของน้ำที่เพิ่มขึ้น พร้อมเผยต่างชาติสนใจการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ภายใต้แผนแม่บทฯ 20 ปี ของไทย
 
ประเทศไทย ผลักดัน การประชุม 6 ประเทศสมาชิก ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ณ กรุงปักกิ่ง เน้นย้ำความร่วมมือบริหารจัดการน้ำให้ผ่านสถานการณ์โลกร้อน และความต้องการของน้ำที่เพิ่มขึ้น พร้อมเผยต่างชาติสนใจการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ภายใต้แผนแม่บทฯ 20 ปี ของไทย
 
 
โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
 
ภายใต้ธีมงานการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำเพื่อรับรอง
ความมั่นคงทางน้ำเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นำเสนอผลลัพธ์ของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง และรายงานความก้าวหน้าแลกเปลี่ยนแนวคิด รวมถึงให้นโยบายแนวทางกรอบความร่วมมือ
แม่โขง-ล้านช้าง สาขาทรัพยากรน้ำ ระหว่างประเทศสมาชิก ทั้ง 6 ประเทศ ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
และประเทศไทย
 
“การประชุมในครั้งนี้ไทยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน ผ่านกลไกต่างๆ ที่มีทั้งหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน องค์กรภาคประชาชน สตรีและเยาวชน เพื่อให้สามารถผ่านสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นภัยจากน้ำท่วม ภัยแล้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความต้องการของน้ำที่เพิ่มขึ้น” เลขาธิการ สทนช. กล่าว
 
          อย่างไรก็ตาม ภายใต้การประชุมดังกล่าว ยังได้มีการประชุมเชิงวิชาการ โดยผู้แทนฝ่ายไทยจาก สทนช. ได้มีการนำเสนอแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย ภายใต้แผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ ที่มุ่งส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำในวาระสหประชาชาติปี 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงกลไกความร่วมมือกับต่างประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขงล้านช้าง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมาก
 
รวมถึงยังได้เข้าร่วมประชุมวิสามัญครั้งที่ 1 ระหว่างคณะกรรมการภายใต้กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง (MRC JC) กับกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (MLC JWG) เพื่อรับทราบผลของการศึกษาร่วมภายใต้โครงการ “การศึกษาร่วมเรื่องรูปแบบการเปลี่ยนแปลงสภาพอุทกวิทยาของลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงและกลยุทธ์การปรับตัว” ที่ต้องการให้ประเทศสมาชิกทราบสาเหตุของการไหลของแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนไปจากอดีต พร้อมให้แนวทางการดำเนินงานในระยะที่ 2 เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ในลุ่มน้ำโขงสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเตือนภัยและการวางแผนการใช้น้ำร่วมกันได้ รวมทั้งได้รับทราบนโยบายของการทำงานร่วมระหว่าง MRC และ MLC ในโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
 
          นอกจากนี้ สทนช.ยังได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม IWRA's XVIII World Water Congress ครั้งที่ 17 ซึ่งเป็นเวทีสภาน้ำโลกร่วมกับผู้แทนจากประเทศต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการจากทั่วโลกได้มีโอกาสนำเสนอความรู้ ผลงานวิจัย และงานวิจัย ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายร่วมกัน
ในการเชื่อมโยงภายใต้แนวคิดหลักของงาน คือ น้ำเพื่อความกลมกลืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ
 
          “การประชุมเชิงวิชาการในลักษณะนี้ มีประโยชน์ต่อประเทศไทย เนื่องจากมีหน่วยงานและองค์กรทั่วโลกมานำเสนอผลงานผลวิจัยเชิงวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสมัครเข้าร่วมได้ โดย IWRA เป็นองค์กรระดับโลกที่มีผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและภาคประชาชนและมีเครือข่ายทั่วโลกทำให้สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ได้ไม่จำกัด
 
ทั้งนี้ สทนช. จะนำไปพิจารณารายละเอียดว่าจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IWRA ในอนาคตหรือไม่ นอกจากนี้ ยังได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนในแม่น้ำล้านช้าง (Cascade Controlling Center) ที่บริษัท Huaneng Lancang River Hydropower Inc ณ นครคุนหมิง ซึ่งใช้ในการดูแลการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนแบบขั้นบันไดที่อยู่ใน
ความรับผิดชอบของบริษัท พร้อมเยี่ยมชมการทำงานของเขื่อน Nuozhadu ซึ่งเป็นเขื่อนที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำที่มีความสูงที่สุดของจีน ซึ่งภายในโครงการยังมีการผลิตพ่อแม่พันธุ์ปลาท้องถิ่นเพื่อปล่อยสู่ลำน้ำธรรมชาติ
 
โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนที่เป็นมิตรและปลอดภัยกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงได้เข้าเยี่ยมชมหมู่บ้านต้นแบบในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยชุมชนแข็งแรง ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลจีนและ United Nations Development Programme (UNDP)
 
ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2019-2021 ซึ่งเป็นชุมชนเข้มแข็งในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ มีการนำขยะจากการเกษตรมาใช้ผลิตเป็นปุ๋ยและก๊าซใช้ในครัวเรือน การปลูกพืชแบบไม่ใช้สารเคมี และมีการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อบำบัดน้ำเสียในชุมชน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำของประเทศไทย หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจัง”
 
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
 

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)