เศรษฐา พบ สี จิ้นผิง เชิญจีนลงทุนแลนด์บริดจ์ เพิ่มลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย
นายกฯเศรษฐา พบปธน. จีน "สี จิ้นผิง" เชิญลงทุนแลนด์บริดจ์ และเพิ่มการค้าการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย รถ EV แบตเตอรี่ และเศรษฐกิจ BCG พร้อมเสียใจเหตุกราดยิงทำนักท่องเที่ยวจีนเสียชีวิต
วันนี้ (19 ต.ค. 2566) เวลา 17.15 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงปักกิ่ง) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ East Hall มหาศาลาประชาชน กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ ว่า นายกรัฐนตรีกล่าวขอบคุณต่อการต้อนรับที่อบอุ่นในการเข้าร่วมการประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation (BRF) ครั้งที่ 3 ตามคำเชิญของประธานาธิบดีจีน และยินดีต่อวาระการครบรอบ 10 ปี ของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) รวมถึงความสำเร็จในการจัดการประชุมฯ
เศรษฐา พบ สี จิ้นผิง เชิญจีนลงทุนแลนด์บริดจ์ เพิ่มลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย
นายกฯเศรษฐา พบปธน. จีน "สี จิ้นผิง" เชิญลงทุนแลนด์บริดจ์ และเพิ่มการค้าการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย รถ EV แบตเตอรี่ และเศรษฐกิจ BCG พร้อมเสียใจเหตุกราดยิงทำนักท่องเที่ยวจีนเสียชีวิต
วันนี้ (19 ต.ค. 2566) เวลา 17.15 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงปักกิ่ง) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ East Hall มหาศาลาประชาชน กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
เศรษฐา พบ สี จิ้นผิง เชิญจีนลงทุนแลนด์บริดจ์ เพิ่มลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย
นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ ว่า นายกรัฐนตรีกล่าวขอบคุณต่อการต้อนรับที่อบอุ่นในการเข้าร่วมการประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation (BRF) ครั้งที่ 3 ตามคำเชิญของประธานาธิบดีจีน และยินดีต่อวาระการครบรอบ 10 ปี ของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) รวมถึงความสำเร็จในการจัดการประชุมฯ
เศรษฐา พบ สี จิ้นผิง เชิญจีนลงทุนแลนด์บริดจ์ เพิ่มลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีจีนยืนยันสานต่อความสัมพันธ์ไทย-จีน ที่มีมายาวนาน ตามประโยคที่ว่า “จีน-ไทย ใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” พร้อมเน้นย้ำความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านไทย-จีน ที่ใกล้ชิด การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงอย่างต่อเนื่อง และมุ่งสู่วาระการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2568 โดยนายกรัฐมนตรีได้เชิญประธานาธิบดีจีนเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในโอกาสที่สะดวก
โฆษกฯ กล่าวอีกว่า ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงประเด็นสำคัญต่างๆ ร่วมกัน โดยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายมองว่า ความท้าทายทางเศรษฐกิจของโลก ทั้งปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ จึงยินดีร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการตอบสนองต่อความท้าทาย
รวมถึงเห็นพ้องการเพิ่มพูนการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ เซมิคอนดักเตอร์ พลังงานสะอาด และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทย
"รวมทั้ง นายกรัฐมนตรีได้นำเสนอเกี่ยวกับโครงการแลนด์บริดจ์(Landbridge) เชิญชวนให้มีการลงทุน ทั้งนี้ ไทยยังเห็นความสำคัญของนักลงทุนจีน ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาจีนเป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับแรกของไทย ซึ่ง ประธานาธิบดีกล่าวว่านักลงทุนจีนก็มีความสนใจในการลงทุนใน mega project ของไทย" โฆษกฯ กล่าว
ส่วนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว นายกรัฐมนตรีมองว่าการท่องเที่ยวสามารถเป็นนโยบายที่จะสามารถดำเนินการและเกิดผลประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick win) ไทยจึงออกนโยบาย Visa Free ชั่วคราวสำหรับชาวจีน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและการไปมาหาสู่ของประชาชนทั้งสองประเทศได้มากขึ้น
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเสียใจที่มีนักท่องเที่ยวจีนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์กราดยิงที่ห้างสรรพสินค้า ยืนยันว่ารัฐบาลได้ดำเนินการเยียวยาผู้เสียหายอย่างเต็มที่ และการดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำผิด และให้ความสำคัญกับการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมทั้งเสนอให้ทั้งสองฝ่ายเจรจาการตกลงเรื่องการยกเว้นตรวจลงตราระหว่างกัน
ส่วนความร่วมมือด้านความมั่นคง นายสัตวแพทย์ชัย กล่าวว่า จีนยืนยันความร่วมมือกับไทยในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ และส่งผลต่อการทำธุรกิจที่ผิดกฎหมายในประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยร่วมกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ ปัญหา Call Center การพนันออนไลน์ การค้ามนุษย์ และยาเสพติด
ความร่วมมือในกรอบพหุภาคี ไทยและจีนได้หารือร่วมกันถึงแนวทางสนับสนุนซึ่งกันและกันในเวทีระหว่างประเทศ ทั้งกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong - Lancang Cooperation: MLC) อาเซียน-จีน และสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมการพัฒนาภูมิภาคและโลก
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
19 ตุลาคม 2566