โอกาสและความท้าทายในอีวีเอฟทีเอสำหรับสินค้าการเกษตรเวียดนาม
วันที่ 8 มิถุนายน ด้วยเสียงสนับสนุนข้างมาก สภาแห่งชาติเวียดนามได้ลงคะแนนอนุมัติการให้สัตยาบันข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม – อียูหรืออีวีเอฟทีเอ ด้วยคำมั่นที่เข้มแข็งเกี่ยวกับการปรับลดภาษีศุลกากร อีวีเอฟทีเอจะเปิดโอกาสให้เวียดนามผลักดันการส่งออกไปยังตลาดยุโรป โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้และสัตว์น้ำที่ถือเป็นจุดแข็งของเวียดนาม แต่อย่างไรก็ตาม เวียดนามจะต้องเปิดตลาดให้แก่สินค้าจากประเทศต่างๆที่เป็นหุ้นส่วนการค้าของเวียดนาม ซึ่งส่งผลให้หน่วยงานการเกษตรของเวียดนามต้องเผชิญทั้งโอกาสและความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก
ปัจจุบัน สหภาพยุโรปคือตลาดนำเข้าสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้และสัตว์น้ำรายใหญ่อันดับ 2 ของเวียดนาม เมื่อก่อน สินค้าเกษตรของเวียดนามเจาะตลาด 17 ประเทศจากจำนวนทั้งหมด 27 ประเทศสมาชิกของอียูเท่านั้นแต่เมื่ออีวีเอฟทีเอได้รับการอนุมัติจะเปิดโอกาสให้หน่วยงานการเกษตรเวียดนามสามารถเจาะทั้งตลาดนี้ที่มีประชากรถึง 450 ล้านคน
นาย เหงียนก๊วกต๋วาน อธิบดีกรมแปรรูปและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร สังกัดกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทแสดงความคิดเห็นว่า “ตลาดยุโรปมี 27 ประเทศสมาชิก ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ต้องนำเข้าสินค้าเกษตรจากเขตโซนร้อน เวียดนามมีสินค้าที่มีความได้เปรียบประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ผลไม้และสัตว์น้ำ เมื่อปีที่แล้ว
เมื่อยุโรปให้สัตยาบันข้อตกลงฉบับหนึ่ง ซึ่งได้สร้างพลังขับเคลื่อนเป็นอย่างมากให้แก่ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ของเวียดนาม ช่วยเพิ่มยอดมูลค่าการส่งออกถึง 1 หมื่น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนผลไม้และอาหารกระป๋องก็มีความได้เปรียบเพราะเวียดนามสามารถส่งออกผลไม้สดไปยังตลาดอียูมาหลายปีแล้ว”
ในกรอบของข้อตกลงอีวีเอฟทีเอ สินค้าของทั้งสองฝ่ายเกือบ 100% จะได้รับการยกเลิกภาษีนำเข้า โดย EU คือภายใน 7 ปีและเวียดนามภายใน 10 ปี นี่คือคำมั่นในระดับสูงสุดในข้อตกลงเอฟทีเอที่หุ้นส่วนให้ภาคีกับเวียดนาม ซึ่งถือเป็นกุญแจให้สินค้าเกษตรเวียดนามเจาะตลาดประเทศต่างๆ
แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรลุผลงานนี้ สถานประกอบการส่งออกเวียดนามต้องผ่านมาตรฐานคุณภาพที่เข้มงวดของอียู ความปลอดภัยด้านอาหารและแหล่งกำเนิดของสินค้า นาย เหงียนชี้เฮี๊ยว ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจแสดงความคิดเห็นว่า “ตลาดยุโรปมีมาตรฐานที่เข้มงวด เพื่อเจาะตลาดนี้ สินค้าของเวียดนามต้องมีคุณภาพสูงขึ้น เพราะว่า ผู้บริโภคยุโรปสนใจเรื่องคุณภาพมากกว่าราคา โดยเฉพาะจะซื้อสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดที่ชัดเจน ซึ่งนี่ยังคงเป็นจุดอ่อนของสถานประกอบการเวียดนาม”
ในเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขัน สินค้าเกษตรของยุโรปไม่แข่งขันโดยตรงกับสินค้าเกษตรเวียดนาม แต่สถานประกอบการต่างประเทศสามารถใช้โอกาสจากอีวีเอฟทีเอเพื่อเพิ่มมูลค่าในขณะที่เรื่องนี้กลับเป็นจุดอ่อนของสถานประกอบการเวียดนาม
นาย ดั่งกิมเซิน อดีตหัวหน้าสถาบันนโยบายและยุทธศาสตร์การเกษตรและพัฒนาชนบทให้ข้อสังเกตว่า “ถ้าหากเราไม่ก่อสร้างโรงงานผลิตต่างๆเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างงานทำให้แก่เกษตรกรเวียดนาม ประเทศอื่นๆก็จะลงทุนในด้านนี้และได้ประโยชน์ไป เรากำลังมองว่า ยุโรปจะเป็นหุ้นส่วนของเราในการลงทุน ร่วมมือกับเราผลักดันการค้า ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนำอุตสาหกรรมที่ทันสมัยมาสู่ประเทศเวียดนาม ซึ่งเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะใช้โอกาสนี้ได้อย่างเต็มที่หรือไม่ หรือจะปล่อยให้ประเทศอื่นใช้โอกาสนี้”
บนเวทีอีวีเอฟทีเอ เวียดนามต้องแข่งขันกับตลาดที่มีจุดแข็งในด้านเทคโนโลยีและมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในขณะที่สถานประกอบการเกษตรเวียดนามส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดย่อมและขนาดเล็ก ซึ่งแค่ผลิตวัตถุดิบและสินค้ายังมีคุณภาพไม่สูงนัก ยังไม่ให้ความสนใจเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าและลิขสิทธิ์ทางปัญญา ดังนั้น เวียดนามต้องเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ในด้านนโยบายและระเบียบการเพื่อสร้างเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าการเกษตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดยุโรป
ประตูแห่งการส่งออกได้เปิดออกแล้ว หน่วยงานการเกษตรและสถานประกอบการเวียดนามควรใช้โอกาสนี้เพื่อหาแนวทางและวิธีเจาะตลาดยุโรปที่เต็มไปด้วยศักยภาพอย่างลึกซึ้งมากขึ้น
ภาพ vietnam briefing
ที่มา vovworld.vn
วันที่ 23 มิถุนายน 2563