"การ์เมนต์" ยอดหดวูบ เวียดนามแซงขึ้นเบอร์ 2 ของโลก

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 200,000 ล้านใกล้เดี้ยง สมาคมฯชี้ 10 ปีที่ผ่านมามาร์เก็ตแชร์ส่งออกไทยในตลาดโลกร่วงเหลือแค่ 1.6% แถมไม่ติดฝุ่น “เวียดนาม” ที่พุ่งขึ้นแท่นเบอร์ 2 ของโลกรองจากจีนไปแล้ว เตรียมนับถอยหลัง 2 ปีข้างหน้าอาจเปลี่ยนเป็นประเทศผู้นำเข้าเครื่องนุ่งห่ม แถมถูกโควิด-19 ฟาดซ้ำ 3 ปัจจัยลบลูกค้ายังไม่กลับมาทำอุตสาหกรรมฟื้นตัวช้าเข้าไปอีก
 
วิกฤตโควิด-19 ฟาดใส่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไปเต็มๆปรากฏ ปี 2563 ภาพรวมการส่งออกติดลบ -16.9% ถือว่าย่ำแย่ที่สุดในรอบ 60 ปี เช่นเดียวกับกับสถานการณ์แฟชั่นแบรนด์ดังทั่วโลกประกาศปิดตัว มาปี 2564 แม้การส่งออก 7 เดือนแรกสามารถพลิกกลับมาเป็นบวก
 
แต่ทว่าอุตสาหกรรมนี้ก็ยังไม่พ้นวิกฤตจากปัจจัยเสี่ยงการระบาดโควิดระลอกใหม่และมีสัญญาณว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้าประเทศไทยอาจต้องเปลี่ยนสถานะจากประเทศผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่ของโลกกลับกลายมาเป็นประเทศผู้นำเข้าแทน
 
นายยุทธนา ศิลป์สรรควิชช์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส่วนแบ่งตลาด(มาร์เก็ตแชร์) เครื่องนุ่งห่มไทยในตลาดโลกช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
 
ล่าสุดเหลือเพียง 1.6% จากปีก่อนหน้านี้ที่มีสัดส่วน 2% ขณะที่ เวียดนาม มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 12% จนขยับขึ้นเบอร์ 2 ของโลกรองจากจีนที่มีมาร์เก็ตแชร์ 35% และมีอินเดียตามมาเป็นเบอร์ 3 สัดส่วน 10%
 
“ปัจจุบันไทยส่งออกเสื้อผ้าปีละ 90,000ล้านบาท สิ่งทอ 110,000 รวมกันปีละ 200,000 ล้านบาท โดยการส่งออกปี 2563 หดตัว 17% ขณะที่การนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปกลับเติบโตปีละ 20% ต่อเนื่อง ซึ่งอีก 2-3 ปีข้างหน้าตัวเลขส่งออกและนำเข้าก็จะตัดกัน นั่นหมายความว่า ประเทศไทยจะเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ซื้อไม่ใช่ผู้ขายอีกต่อไปและอีก 10 -15 ปีข้างหน้า
 
เราจะไม่มีการ์เม้นต์ที่ผลิตในประเทศ แม้ว่าตัวเลขจำนวนโรงงานการ์เมนต์จะคงที่นิ่งๆอยู่ประมาณ 2200 โรงงานแต่ยังไม่ได้อัพเดทว่า มีโรงงานเหลือจริงๆเท่าไหร่ ซึ่งผลกระทบนี้ไม่ใช่เพียงแค่โรงงานผลิต แต่ส่วนประกอบในซัพพลายเช่น กระดุม ซิป ถุงหรืออื่นๆก็จะหายไป ส่วนการขยายการลงทุนออกไปข้างนอกเป็นเฉพาะรายใหญ่ๆ ส่วนผู้ประกอบการรายกลางและเล็ก ตายหมดออกไปลงทุนไม่ไหว” นายยุทธนากล่าว
 
สำหรับในปี 2564 แม้ว่า ภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยช่วง 7 เดือนแรก(ม.ค.- ก.ค.) 2564 จะขยายตัว 12% มูลค่ารวม 3,702 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแยกเป็นยอดส่งออกเครื่องนุ่งห่มขยายตัว 4% มูลค่า 1,307 ล้านเหรียญ กับ สิ่งทอขยายตัว 16% มูลค่า 2,395 ล้านเหรียญ แม้ว่าตัวเลขมันจะออกมา “เพิ่มขึ้น” จากปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ดีเท่าที่ควรถ้าเป็น
 
“หากสถานการณ์ยังเป็นบบนี้ไปจนถึงสิ้นปี เครื่องนุ่งห่มจะบวกไม่เกิน 10% ทั้งที่ควรจะได้ถึง 15-20% ส่วนสิ่งทอมีโอกาสจะบวกถึง 20% นั่นเป็นเพราะ เสื้อผ้ากีฬาสินค้าหลักส่งออก 40-50% ขยับขึ้นน้อย โดยโอลิมปิกก็ไม่ได้ช่วย เพราะส่งออกไปตั้งแต่ปลายปีแล้วเทียบกับถ้าเป็นช่วงปกติจะกระตุ้นตลาดได้อย่างน้อย 5% ขึ้นไป ขณะที่สิ่งทอบวก 16% เพราะวัตถุดิบนี้ถูกส่งไปผลิตที่ฐานการผลิตอื่นแทนประเทศไทย หากประเมินรายตลาดพบว่า ตลาดหลักฟื้นหมด ยกเว้นญี่ปุ่นที่อาจจะเศรษฐกิจไม่ดี โดยปัจจุบันตลาดอเมริกาสัดส่วน 35% ยุโรป 27% และญี่ปุ่น 12% อาเซียน 3%” นายยุทธนากล่าว
 
3 ปัจจัยฉุดอุตฯฟื้นช้า :
 
ส่วนประเด็นหลักที่ “ประเทศไทยฟื้นช้า” นั้นเป็นผลจากปัญหาเรื่องโควิด-19 ทำให้ 
1)คนงานต่างด้าวกลับประเทศตั้งแต่ปี 2563 แล้วยังไม่กลับมาจึงเกิดการขาดแคลนแรงงาน 10-15%
2
) โควิด-19 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาทำให้โรงงานต้องเปิดปิด ๆ และมีเคอร์ฟิวจนต้องลดระยะเวลาผลิตเหลือแค่ 8 ชั่วโมงจากปกติ 10-11 ชั่วโมงต่อวัน กำลังการผลิตจึงหายไป 10-20% โรงงานใหญ่ที่ไม่สามารถผลิตได้ต้องส่งผ้าโยกไปผลิตที่โรงงานในกัมพูชา-ลาว-เวียดนาม แล้วก็ส่งออกจากประเทศอื่นไปแทนที่จะส่งออกจากไทยและ 
 
3)ความไม่มั่นใจลูกค้าเพราะคิดว่า ถ้าสั่งผลิตที่ไทยจะผลิตได้เมื่อไหร่ ล่าช้าหรือไม่
 
“วัคซีนเราก็ฉีดได้น้อย ตัวเลขติดเชื้อโควิด-19 ก็ยังสูง ออร์เดอร์ที่จะส่งมอบวันนี้เค้าวางแผนล่วงหน้าไว้ยาวแล้ว จะมาบอกเขาว่า วันนี้ฉันดีขึ้นแล้วคุณมาซื้อเสื้อผ้าตามปกติซิ มันไม่ใช่ ยอดออเดอร์ต้องสั่งไว้ตั้งแต่ 3-4 เดือนก่อน ฉะนั้นถ้ายังไม่มียอดออเดอร์เข้าไม่ม ก็จะเริ่มส่งผลกระทบตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไป ยอดการส่งออกมันก็จะไม่ขึ้นเพราะ การลงออเดอร์มันจบสิ้นไปแล้ว ฉะนั้น 3 ปัจจัยนี้รวมกันจะหายไป 20-30% ขั้นต่ำ“ นายยุทธนากล่าว
 
อย่างไรก็ตามประเมินว่า ตั้งแต่นี้ไปถึงปลายปี 2564 ประเทศไทยจะประสบปัญหากำลังการผลิต “ที่ขาดหายไป” ในช่วง 4-5 เดือนนี้ นั้นหมายความว่า งานที่ถูกดีเลย์สะสมมาจากการที่โรงงานสิ่งทอต้องเปิดๆปิดๆก็จะถูกเลื่อนมามาผลิตตอนนี้ ทำให้การผลิตกระจุก ดังนั้นโรงงานใดที่มีกำลังการผลิตเหลือตอนนี้เรียกว่า “เป็นช่วงเวลาทอง” แม้เป็นสถานการณ์ที่เต็ม แต่ไม่ได้ดีเหมือนกับเมื่อก่อนและยิ่งต้องทำ Factory Sandbox ก็ยิ่งต้นทุนสูงขึ้น
 
“สมมุติว่า ปีนี้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มขยายตัว 10% แต่ปีที่แล้วติดลบ -17% หักลบกันแล้วเท่ากับปีนี้ยังลบ -7-8% กว่าจะขยับฟื้นไปเหมือนก่อนโควิดต้องอาศัยเวลาปีหน้าอีก 1 ปีหรือประมาณปี 2566 เฉพาะภาคการส่งออกค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ตลาดในประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง นักท่องเที่ยวหายไป ต่อให้เปิดคลายล็อกก็กลับมาไม่ได้เหมือนเดิมเพราะ มีข้อจำกัดหลายข้อ แม้ว่าจะซื้อออนไลน์ได้ง่ายขึ้น แต่ยอดการซื้อต่อคนน้อยลงจากเดิมโดยอัตโนมัติ”
 
แบรนด์ไทยเจ็บตัวแน่ :
 
สำหรับผู้ประกอบการแบรนด์ไทย “กลุ่มแบร์นด์รีเทล” ในห้างสรรพสินค้าต่างๆและ “แบรนด์ห้างค้าส่งโบ้เบ้ประตูน้ำ” โดยเฉพาะ กลุ่มโบ้เบ้ ลูกค้าต่างชาติไม่เข้ามา คนไทยก็ไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอย ถึงแม้ว่าคลายล็อกแล้ว กลุ่มนี้น่าจะหยุดไปไม่น้อยกว่า 80% เหลืออยู่ 20% อาจจะกลับมาไม่ถึงครึ่ง
 
ส่วนแบรนด์ไทยในห้างก็ต้องแข่งขันกับผู้ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ใหญ่ที่มีสายป่านยาวจากต่างชาติ (เช่น ยูนิโคล) ซึ่งสามารถทำตลาดออนไลน์ ลดราคาระบายสต๊อก จนผู้ผลิตแบรนด์ไทยสู้ไม่ได้ แม้จะไปขายออนไลน์เหมือนกัน แต่ความเชี่ยวชาญและสายป่านในการทำการตลาดไทยสู้แบรนด์นอกไม่ได้แล้วอย่างนี้ผู้ประกอบการไทยจะไปรอดได้อย่างไร
 
ปรับตัวเพื่ออยู่รอด :
 
นายยุทธนา กล่าวว่า การจะอยู่รอดได้ต้องปรับตัวตามเทรนด์โลก จากข้อมูลการวิจัยพบว่ามี 4 ด้านคือ 
 
1)การใช้ข้อมูลผู้บริโภคให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เช่น พฤติกรรมลูกค้าต้องทำงานจากบ้านไม่ต้องใส่ชุดทำงาน ต้องปรับขายอะไรให้ตอบโจทย์ 
 
)การพัฒนาระบบดิจิตอล ออนไลน์ ทำระบบสมาชิกเพื่อสู้ทุกทาง
 
3)เรื่อง Sustainable ทั้งตัวสินค้า กระบวนการผลิต การได้มาซึ่งสินค้าและผู้บริโภค ต้องชูเรื่องมุ่งรักษาสิ่งแวดล้อม และ 4)Simplicity/simplify ลดความยุ่งยากซับซ้อน สู่ความมินิมอล ซึ่งแบรนด์ดัง เช่น อาร์มานี่อร์เบอรี่ , ไนกี้ , อันเดอร์อาร์มเมอร์ , พูม่า , รีบอกซ์ และ อาดิดาส ต่างทำแบบนี้
 
“รัฐบาลควรมีมาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาเรื่องโควิด-19 และทำอย่างไรที่จะช่วยรักษาสถานะโรงงานให้ได้ก่อน ต้องมีมาตรการฟื้นฟูอุตสาหกรรม ซึ่งทางสมาคมฯเคยเสนอไป 3 เรื่องคือ การจัดสรรงบประมาณ 200-300 ล้านบาทเพื่อจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา เน้นเฉพาะสินค้าที่มีฟังก์ชัน Medical textile Sport textile และ Industrial textile เหมือน ไต้หวัน-จีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น
 
หากสำเร็จจะช่วยเพิ่มมูลค่านับ 10,000 ล้านบาท 2)การตั้งศูนย์ทดสอบเครื่องนุ่งห่มชนิดพิเศษ เช่น ชุด PPE หรือหน้ากากอนามัยใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านต่อยอดผลิตสินค้าที่มีฟังก์ชันราคาสูงได้ลดพึ่งพาต่างชาติ และ 3)การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมนี้ ตอนนี้แทบจะไม่มีคนอยากเรียนแล้ว ซึ่งต้องทำ 3 เรื่องนี้คู่ขนานกันไป” นายยุทธนากล่าว
 
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 10 กันยายน 2564

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)