รู้จัก ภาวะ MIS-C ในเด็กที่เกิดขึ้นหลังติดโควิด-19
ภาวะ MIS-C อาการที่มีความสัมพันธ์กับโควิด-19 ยังคงต้องที่น่าจับตามองเพราะกลุ่มของกลุ่มอาการ MIS-C คือส่วนใหญ่จะเกิดในเด็กที่ติดเชื้อโควิด โดยร่างกายจะมีการอักเสบหลายระบบ
ภาวะ MIS-C (มิสซี) ผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น จากการระบาดของโรคโควิด ส่งผลให้มีเด็กอายุ 0-18 ปีติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น และ เพราะเป็นอาการที่พบในเด็กหลังติดเชื้อโควิด19
ภาวะ MIS-C (มิสซี) คืออะไร :
ภาวะ MIS-C (มิสซี) เป็นกลุ่มอาการอุบัติใหม่ที่พบในเด็กซึ่งร่างกายมีการอักเสบหลายระบบหลังจากมีการติดเชื้อ SARS- CoV-2
ภาวะ MIS-C (มิสซี) เกิดจากสาเหตุอะไร :
เชื่อเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อเชื้อไวรัส SARS- CoV-2 ที่มากเกินไป ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายหลายระบบตามมา
ภาวะ MIS-C (มิสซี) เกิดขึ้นกับใครบ้าง :
ภาวะนี้พบได้ในเด็กทุกกลุ่มอายุ อุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 0.02 ของผู้ป่วยเด็กที่เป็นโควิด
อาการที่เกิดจากภาวะ MIS-C (มิสซี)
* มีอาการไข้
* ผื่น
* ตาแดง
* อาเจียน
* ปวดท้อง
* ถ่ายเหลว
* อาจมีภาวะช็อคที่เกิดจากการอักเสบที่หัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจโป่งพองซึ่งเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ ร่วมกับการตรวจพบเชื้อหรือภูมิคุ้มกันหรือประวัติสัมผัสเชื้อ SARS- CoV-2
* การอักเสบของหัวใจพบได้ร้อยละ 35-100 อาจมีอาการรุนแรงจนจำเป็นต้องรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ในประเทศไทยพบผู้ป่วย MIS-C แล้วประมาณ 30 - 40 ราย ทั่วประเทศ ภาวะนี้ควรได้รับการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลินและยากดภูมิคุ้นกัน
นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมีการพบผู้ป่วย MIS-C จำนวน 8 ราย อายุตั้งแต่ 9 เดือน ถึง 11 ปี อายุเฉลี่ย 6 ปี โดยผู้ป่วย 6 ราย
มีประวัติการเป็นโควิด มาก่อนภายใน 4 - 6 สัปดาห์ และมีอาการของโรคโควิด น้อยหรือไม่มีอาการ ส่วนผู้ป่วยอีก 2 ราย ไม่พบประวัติการสัมผัสเชื้อที่ชัดเจน
ผู้ป่วยทุกรายมีไข้ร่วมกับผื่น ส่วนใหญ่พบอาการทางระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น อาเจียน ถ่ายเหลว ในเด็กเล็กมักมีอาการตาแดง ปากแดง มือเท้าบวม คล้ายโรคคาวาซากิ การตรวจเลือดจะพบค่าการอักเสบที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ ผู้ป่วย 4 ราย (ร้อยละ 50) มีภาวะช็อคจากการที่หัวใจบีบตัวได้ลดลง จำเป็นต้องให้การรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยที่อาการรุนแรง 3 ราย มีการตอบสนองต่อการรักษาดี การทำงานของหัวใจกลับมาทำงานเป็นปกติ ระยะเวลาที่รักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตขึ้นกับความรุนแรงและการตอบสนองต่อการรักษา
ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ยังไม่พบการเสียชีวิตจากภาวะนี้ การวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงทีจะช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคนี้ได้
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 5 ตุลาคม 2564