ไทยเจอ "โควิดไฮบริด" โอมิครอน XJ 1 ราย ติดซ้ำต่างสายพันธุ์ย่อยเกิดได้

กรมวิทย์เผยเจอโควิดไฮบริด “โอมิครอนXJ”  ลูกผสมBA.1+BA.2 ในชายไทย 34 ปีพนักงานส่งของ  อาการหายดีแล้ว ระบุมีโอกาสติดซ้ำโอมิครอนต่างสายพันธุ์ย่อยได้ ขณะที่สายพันธุ์ครองไทยเป็น “โอมิครอนBA.2”แล้ว  92.2 %  ติดเชื้อง่ายและไวขึ้น
 
เมื่อวันที่  4 เม.ย.2565  ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงสถานการณ์โควิด19 ประเด็น “การเฝ้าระวังสายพันธุ์”นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า   ปกติการเปลี่ยนแปลงการกลายพันธุ์จะเกิดขึ้นในตัวของมันจะเปลี่ยรหัสพันธุกรรม แล้วถ้าเปลี่ยนไปต่างจาดเดิมโดยสิ้นเชิงหรือผลที่แตกต่างมาก กจักลายเป็นตัวหใม่ ถ้าต่างไม่มาก จะเป็ฯสายพันธุ์ย่อย  อย่างไรก็ตาม  มีกรณี Mixed Infection คือติดเชื้อ 2 สายพันธุ์อบู่ในคนเดียว เคยเจอในไทยมาแล้วช่วงเป็นอัลฟาและเดลตา มีการตรวจพบ 2 สายพันธุ์ในคนเดียวกัน 
 
การที่มีเกิดกขึ้นบ่อยๆทำให้เดิการผสมพันธุ์ออกมาเป็นตัวใหม่ที่มีสารพันธุกรรมมาจากมากกว่า 1 สายพันธุ์ เรียก Recombinant หรือไฮบริด คือ มี2 ตัวอยู่ในไวรัสตัวเดียว
 
นพ.ศุภกิจ กล่าวด้วยว่า  เวลามีการผสมเป็นไฮบริด จะใช้คำว่าXนำหน้า คือ มีการข้ามพันธุ์แล้วมาผสมกัน ปัจจุบันมี XA ไล่จนถึง XS ประมาณ 17 ตัว  ซึ่งบางการผสมพัยนธุ์เกิดขจึ้นลัตรวจจับนานพอควรแล้ว เช่น กรณี XA พบตั้งแต่เดือนธ.ค.2563 โดยเป็นลูกผสมระหว่าง  B.1.1.7(อัลฟา) กับ B.1.177 หรือXB เจอตั้งแต่ เดือนก.ค.2563 โดยเป็นลูกผสมระหว่างB.1.634กับB.1.631 ซึ่งเป็น 2 ตัวที่มีการกลายพันธุ์แต่ไม่ได้ถูกตั้งชื่อเพราะไม่ได้มีควาหมายอะไร และไม่ได้มีการรายงานเพิ่มเติมน่าจะหมดไปจากโลกแล้ว  ดังนั้น แม้ว่าจะเป็นลูกผสมถ้าไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์ ความพิเศษในแง่แพร่พันธุ์ หลบวัคซีน หรือความรุนแรง ก็ไม่ได้มีความหมายเพราะเป็นธรรมชาติของไวรัสเมื่อมีการเพิ่มจำนวน มีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ได้ หรือXC เป็นลูกผสมของเดลตาAY.29 กับ B.1.1.7(อัลฟา) ประมาณกลางปี  2564
 
“โดย 3 ตัวนี้  GISAIDวิเคราะห์สิ้นสงสัยและยอมรับแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 3 ตัวนี้เท่านั้นที่ยอมรับว่าเกิดไฮบริดขึ้นจริง ส่วนXอื่นๆที่นอกจากนี้ยังอยู่ในชั้นที่ยอมรับ  อาจจะต้องมีการวิเคราะห์ลึกล้ำจนสิ้นสงสัย ว่ามีตัวใหม่ขึ้นมาจริง”นพ.ศุภกิจกล่าว
 
นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า  ส่วนXE ที่ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดีพบในประเทศไทย เป็นลูกผสมระหว่างโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยBA.1และBA.2 และลูกผสมระหว่างโอมิครอน 2สายพันธุ์ย่อยนี้มีอีกหลาย Xที่กำหนดให้ต่างกันเนื่องจากมีรหัสพันธุกรรมที่ต่างกัน   และเจอในประเทศที่แตกต่างกัน  นอกจากนี้  จากการถอดรหัสพันธุกรรมของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า มีโอกาสเข้าได้ใกล้เคียงกับ โอมิครอนลูกผสม XJ เจอที่ฟินแลนด์ที่แรก โดยเป็นชายไทย อายุ  34 ปี  อาชีพพนักงานบริษัทขนส่ง ตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2565 ที่รพ.ในกทม. ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม 2 เข็ม อาการหายดีแล้ว  โดยโอมิครอนXJ เป็นลูกผสมระหว่างโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยBA.1กับBA.2ด้วย  อย่างไรก็ตาม ทั้งXEและXJ ยังไม่ได้ถูกยอมรับจากGISAID ซึ่งวันที่ถูกยอมรับอาจจะเป็นXอื่นก็ได้ ต้องรอกระบวนการวิเคราะห์
 
“กรณีการพบในชายไทยสายพันธุ์ลูกผสมใกล้เคียง XJ แต่ในเรื่องความรุนแรง การแพร่เร็ว ยังไม่มีข้อมูล เพราะในระยะเบื้องต้นจะพบการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมก่อน ว่าพบเปลี่ยนตรงตำแหน่งไหน โดยในชายไทยที่เป็นคนส่งของอาการหายดีแล้ว ซึ่งอาการแทบแยกไม่ออกเลย เพราะไม่ว่าเดลตา โอมิครอนแทบแยกไม่ได้  ส่วนใหญ่เป็นอาการทางเดินหายใจใกล้เคียงกัน เพียงแต่เมื่อจำนวนรวมกันเยอะๆ   อาจมีไข้น้อยกว่านิดหน่อย หรือเจ็บคอมากกว่านิดหน่อย แต่คงไม่สามารถนำมาใช้แยกอาการกับสายพันธุ์ได้  นอกจากนี้   ยังมีอีก 1 ราย ข้อมูลยังไม่พอ เพราะตัวอย่างเพิ่งส่งมาวันที่ 3 เม.ย. แต่จากข้อมูลเบื้องต้นโอกาสที่จะเป็นรีคอมบิแนนท์  (recombinant) พบ 60% จึงยังสรุปไม่ได้”  นพ.ศุภกิจ กล่าว
 
นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า   จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาที่มีการสุ่มตรวจราว 2 พันราย  พบเดลตา 3 ราย ในเขตสุขภาพที่ 8 ที่เหลือเป็นโอมิครอน  คิดเป็น 99.8 %  ในภาพรวมขณะนี้โอมิครอนครองไทยแทบจะไม่มีสายพันธุ์อื่นหลงเหลือในประเทศไทยแล้ว โดยเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 คิดเป็น 92.2% และBA.1 คิดเป็น  7.8 %  ซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่ายและไวขึ้น  ขณะที่ในอังกฤษก็มีBA.2ระบาดหนักอยู่ปัจจุบัน พบเรื่องการแพร่เร็วชัดเจน แต่ในส่วนที่จะหลบภูมิคุ้มกัน และความรุนแรง ยังมีข้อมูลไม่มากพอที่จะบอกว่ามีปัยหาเรื่องความรุนรรีงมากขึ้น อาจจะหลบภูมิไดมากขึ้นเล้กน้อย 
 
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าคนที่ติดโอมิครอนมีโอกาสติดซ้ำในต่างสายพันธุ์ย่อยได้ เช่น ติดBA.1แล้วมีโอกาสติดBA.2อีก นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า มีโอกาสได้ เพราะวันนี้ต้องยอมรับว่า โอมิครอน BA.2 สามารถหลบภูมิคุ้มกันไม่ว่าโดยธรรมชาติ หรือวัคซีนในจำนวนหนึ่ง ดังนั้น คนติดเดลตาก็ติดโอมิครอนได้ หรือติดโอมิครอน BA.1 ก็อาจติด BA.2 ได้ แต่ไม่ใช่ทุกราย  ฉะนั้น ภูมิคุ้มกันฉีด 2 เข็มจึงไม่พอ จำเป็นต้องบูสเตอร์เข็ม 3 หรือคนฉีดเข็ม 3 นานมากแล้วก็แนะนำมาฉีดเข็ม 4  แต่อย่างที่บอกว่า ภูมิคุ้มกันในเลือดอย่างเดียวก็มีองค์ประกอบเยอะ อย่างฉีดวัคซีนเชื้อตายในอดีต ก็อาจทำให้เซลล์ต่างๆมาช่วยกำจัดเชื้อโรคได้ในกรณีเจอเชื้อใหม่เข้ามา
 
เมื่อถามย้ำว่าคนติดโควิดมาแล้วไม่ว่าสายพันธุ์ใดก็ตามก็ยังต้องฉีดวัคซีนตามกำหนดหรือไม่ นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า หากติดโอมิครอนวันนี้ ซึ่งพบว่าหากติด BA.2 ภูมิคุ้มกันต่อ BA.2 มีมากแน่ และจะไม่เป็นซ้ำในเวลาสั้นๆ แต่หากติด BA.1 ภูมิคุ้มกันต่อ BA.2 ก็อาจไม่มากพอ  ซึ่งกรณีเหล่านี้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำลังทำการตรวจสอบวิเคราะห์อยู่ หากแล้วเสร็จจะมีการเผยแพร่ต่อไป
 
“ภาพรวมโอมิครอน ติดง่ายมาก เพียงแต่ความรุนแรงลดลง ดังนั้น จึงขอให้ระมัดระวัง อย่าไปเชื่อว่า ปล่อยให้ติดไปให้หมด แบบนี้ไม่ได้ เพราะถ้าปล่อยให้ติดเชื้อเยอะๆ โอกาสกลายพันธุ์มีสูง และเราก็ไม่รู้ว่าหากกลายพันธุ์แล้วรุนแรงก็จะมีปัญหา แต่โดยธรรมชาติวันนี้ ความรุนแรงลดลง เพียงแต่ยังแพร่เร็ว และจากการติดเชื้อขณะนี้ค่อนข้างเร็ว จึงต้องขอให้พึงสังวรว่า เมื่อเชื้อแพร่เร็ว โอกาสติดเชื้อก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้น อะไรเลี่ยงได้ ป้องกันได้ขอให้ทำ หลายท่านอยากถอดหน้ากากอนามัย ขออย่าเพิ่งทำ อย่าไปรับประทานอาหารร่วมกันมากๆ”นพ.ศุภกิจกล่าว   
 
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 4 เมษายน 2565 

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)