ขึ้นชื่อว่า "ครัวโลก" ทำไมไทยยังเสี่ยงวิกฤติอาหาร
ไทยเป็นครัวโลก แต่ทำไมเสี่ยงเผชิญวิกฤติอาหารโลก (Global food crisis) ในระยะยาว
ตั้งแต่เกิด โควิด-19 มาจนถึงสงครามความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ความกังวลเรื่องวิกฤติอาหารโลกเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมที่มีปัจจัยเรื่องโลกร้อนเป็นตัวเร่งอยู่แล้ว แต่เมื่อต้องมาเผชิญกับความขัดแย้ง ก็ดูเหมือนว่า วิกฤติอาหารโลก (Global food crisis) จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในระยะสั้น ไทยอาจได้อานิสงส์จากการส่งออกสินค้าไปยังตลาดโลกเพิ่มขึ้น ในฐานะประเทศผู้ส่งออกผลิตผลทางการเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารลำดับต้น ๆ ของโลก
อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในฐานะครัวโลก (Kitchen of the world) มาอย่างยาวนาน เพราะมีผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายและมีคุณภาพรวมทั้งยังมีศักยภาพการผลิตในปริมาณที่มากเพียงพอสำหรับป้อนความต้องการบริโภคภายในประเทศและเหลือสำหรับส่งออกอีกด้วย สะท้อนได้จากปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญบางสินค้า เช่น น้ำมันปาล์ม ซึ่งได้รับประโยชน์โดยตรงในฐานะสินค้าทดแทนและปรับตัวสูงขึ้นมากหลังจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ปะทุขึ้นในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ซึ่งมีผลให้อุปทานน้ำมันดอกทานตะวันจากทั้งสองประเทศหายไปทางตลาดโลก
แต่ในระยะยาวอาจไม่ใช่ ครัวโลกแห่งนี้อาจเสี่ยงด้วย เพราะความกังวลในเรื่อง Food security กำลังกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้และมีความพยายามที่จะพึ่งพาตนเอง (Self-reliance) ด้านอาหารมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศท่ามกลางความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้น
เห็นได้จากการเริ่มวาง Roadmap เรื่องนโยบายความมั่นคงด้านอาหารกันอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจกระทบกับความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าในกลุ่มธัญพืช พืชอาหาร ผลไม้ เนื้อสัตว์ รวมถึง ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยในระยะยาว ทั้งในแง่ความต้องการนำเข้าอาหารจากประเทศ เมื่อคู่ค้าของเราที่อาจทยอยปรับลดลง หรือแม้แต่การที่คู่ค้าบางรายอาจพัฒนาศักยภาพการผลิตอาหารจนสามารถผันตัวเองมาเป็นคู่แข่งของไทยในอนาคต
ยังมีเวลาที่ไทยจะปรับกลยุทธ์การเติบโตตลอดห่วงโซ่อาหาร
เช่น Indoor farming หรือ Vertical farming หรือแม้แต่การมุ่งเน้นไปที่การทำการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision agriculture) เพื่อลดต้นทุนการเพาะปลูกและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ (Yield) รวมถึงการปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อพัฒนาคุณภาพและรสชาติของผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น รวมถึงการมองหาโอกาสในการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน
ไปจนถึงการผลิตอาหารโลกแห่งอนาคต เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาสินค้าเกษตรและอาหารเชิงนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์การเติบโตแบบ Value-based economy ในอนาคตต่อไป
ปัจจัยที่ทำให้วิกฤติความมั่นคงด้านอาหารของโลกมีแนวโน้มรุนแรง
เมื่อคนหลายล้านคนกำลังเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างเฉียบพลันซึ่งพบว่าวิกฤติอาหารโลกรอบนี้เกิดจากสาเหตุหลัก 3 สาเหตุ
1. การแพร่ระบาดของ COVID-19
2. สงครามรัสเซีย-ยูเครน : สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังคงลากยาวมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2022 จนถึงปัจจุบันและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงในเร็ววันนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตอาหารโลก และทำให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นมากจากอุปทานที่หายไปจากตลาด ขณะที่ยูเครนก็เป็นผู้ส่งออกธัญพืชรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน (42%) ข้าวโพด (16%) ข้าวบาร์เลย์ (10%) และข้าวสาลี (9%) เป็นต้น ไปจนถึงราคาปุ๋ย และเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรต่าง ๆ ยังปรับตัวสูงขึ้นมากอีกด้วย เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบสำหรับทำปุ๋ยเคมีรายใหญ่ของโลก
3. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก หรือ Climate change ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่มีส่วนทำให้วิกฤติความมั่นคงด้านอาหารทั่วโลกมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้
รายงานของ Global Report on Food Crises ประจำปี 2022 ซึ่งระบุว่า ประชากรมากถึงเกือบ 193 ล้านคนใน 53 ประเทศทั่วโลก
ที่มา : PPTV Online