ตลาดค้าปลีกเวียดนาม บูม ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ
กระทรวงอุตสาหกรรมเวียดนาม คาด ปี 68 ตลาดค้าปลีกเวียดนาม ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่า มูลค่า 350 พันล้านดอลลาร์ ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ เผย กลุ่มเซ็นทรัล รีเทล ไทย ทุ่มเงินลงทุนเพิ่ม1.45 พันล้านดอลลาร์ ด้านทูตพาณิชย์ ชี้เป็นโอกาสนักลงทุนไทยข้าสู่ตลาดค้าปลีกของเวียดนาม
เวียดนาม เป็นประเทศเนื้อหอมที่ดึงดูดการลงทุนในต่างประเทศ หรือ FDI ด้วยเหตุผลที่ตลาดเวียดนามมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด มีแรงงานที่มีคุณภาพ และคนวัยทำงานเป็นจำนวนมาก ลักษณะขยัน อดทน productivity สูง ค่าจ้างแรงงานถูก สิทธิประโยชน์ทางด้านการค้าทั้งภาษี สิทธิประโยชน์ด้านจีเอสพีจากสหรัฐฯ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามสูง
ปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนพิจารณาขยายฐานไปยังเวียดนาม จะมาจากเรื่องสิทธิประโยชน์ทางการค้า และยังมีข้อได้เปรียบจากการทำความตกลงทางการค้าเสรีหรือ FTA ที่ได้ทำกับประเทศต่าง ๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก(CPTPP) กับความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีไทย-อียู หรือ (EVFTA) ทำให้สินค้าที่ผลิตจากเวียดนามได้ลดหรือยกเว้นการเก็บภาษีจากอัตราปกติ เมื่อส่งออกไปยังตลาดคู่ค้า โดยประเทศไทยถือเป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับที่ 9 ของเวียดนาม
ตลาดค้าปลีกที่ดึงดูดบริษัทต่างๆ ทั่วโลกโดยมีนักลงทุน FDI ระดับ ภูมิภาคและระดับโลกจำนวนมากเพิ่งประกาศแผนการเพิ่มทุนและขยายเครือข่ายการจัดจำหน่ายในเวียดนาม จากข้อมูลของเว็ปไซต์ รายงานว่า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ได้ระบุว่า ตลาดค้าปลีกของเวียดนามมี มูลค่า 142 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่า ในปี 2568 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่าเป็น 350 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนม.ค.2566 ยอดค้าปลีกและบริการลดลง 6 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ผู้คนใช้จ่ายมากขึ้นในกิจกรรมหลังวันตรุษเวียดนาม
ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2566 ยอดค้าปลีกและบริการรวมของประเทศเวียดนามเพิ่มขึ้น 13 % ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ซึ่งเป็นมากกว่า 994,100 พันล้านเวียดนามด่ง ด้วยการเติบโตที่มั่นคงและในเชิงบวก ตลาดค้าปลีกของเวียดนามได้รับการชื่นชมจาก ผู้ประกอบการต่างชาติเสมอมา บริษัท Central Retail Corporation (CRC) ของไทยได้ประกาศเพิ่มทุนในเวียดนามเป็น จำนวน 1.45 พันล้านดอลลาร์ นับเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ CRC เคยประกาศไว้
โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่ม จำนวนร้านค้าเป็นสองเท่า ซึ่งเป็น 600 แห่งใน 57 จาก 63 จังหวัด ในปี 2566 บริษัท CRC ใช้เงินมากกว่า 4,100 พันล้านด่งในตลาดเวียดนาม โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจอาหารที่จำเป็น การรักษาเสถียรภาพด้าน ราคา และการปรับโครงสร้างร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์
นาย Olivier Langlet ต าแหน่ง CEO ของบริษัท Central Retail Vietnam กล่าวว่า นอกเหนือจากตลาดไทย เวียดนามเป็นตลาดที่สร้างรายได้มากที่สุดให้กับบริษัท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 21-22 % ของรายได้ทั้งหมด ในปี 2565 ตัวเลขนี้อยู่ที่ 25%
ขณะที่บริษัท Aeon จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น กำลังเร่งเปิดห้างสรรพสินค้าในประเทศเวียดนาม เพิ่มขึ้น 3 ท่าเป็นประมาณ 16 แห่งภายในปี 2568 โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่ม อาหาร เมื่อเดือนม.ค. 2566 ห้างสรรพสินค้า Aeon Mall ในเมืองเว้ (Hue) ได้ก่อสร้างขึ้นด้วยพื้นที่ใช้สอย 8.62 เฮกตาร์ ด้วยมีเงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 169 ล้านดอลลาร์ นี่คือศูนย์กลางการค้าและบริการที่ใหญ่ ที่สุดในภูมิภาค ตามตัวแทนของบริษัท HSBC Vietnam การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เป็นหนึ่ง ในองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้เวียดนามเปลี่ยนตัวให้เป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่เปิดกว้างที่สุดและเติบโต อย่างรวดเร็วในภูมิภาค
ปัจจุบัน นักลงทุน FDI ระดับภูมิภาคและระดับโลก หรือบริษัทข้ามชาติมีส่วนช่วย มากกว่า 80 %ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของเวียดนาม และประมาณ 25 % ของมูลค่าการลงทุน ภายในประเทศ ผลการวิจัยจากบริษัท HSBC Vietnam แสดงให้เห็นว่าภายในปี 2573 ตลาดผู้บริโภค ในประเทศเวียดนามจะแซงหน้าประเทศไทย สหราชอาณาจักร และเยอรมนี ในปี 2566 โดยบริษัทข้ามชาติ บางบริษัทในเอเชียแสดงความสนใจถึงเวียดนาม โดยมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมค้าปลีก อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนมือถือ พลาสติก พลังงานทดแทน และโลจิสติกส์
นางสุภาพร สุขมาก ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ นครโฮจิมินห์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ตลาดค้าปลีกของเวียดนามมีมูลค่า 142 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าในปี 2568 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่าเป็น 350 พันล้านดอลลาร์ ด้วยอัตราการเติบโตที่มั่นคงและในเชิงบวก ประชากรมากกว่า 100 ล้านคน และกำลังซื้อของผู้คนดี ตลาดค้าปลีก ของเวียดนามจึงได้รับความนิยมอย่างสูงจากนักลงทุนต่างชาติ
ปัจจุบัน มีบริษัทกลุ่มค้าปลีกข้ามชาติรายใหญ่ เช่น กลุ่ม Central Retail จากไทย บริษัทเครือ TTC บริษัท Aeon ของญี่ปุ่น บริษัท Lotte ของเกาหลีใต้ เป็นต้น ได้เข้ามาเปิดศูนย์การค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต ในเวียดนาม แสดงถึงศักยภาพและโอกาส ในการพัฒนาสำหรับธุรกิจค้าปลีกในเวียดนาม
“ด้วยประชากรมากกว่า 100 ล้านคน ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชนชั้นกลาง พัฒนาและกำลังซื้อของผู้คนดี ตลาดค้าปลีกของเวียดนามจึงยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับแบรนด์ค้าปลีก ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ"
จึงเป็นโอกาสสำหรับประกอบการและนักลงทุนไทยที่จะเข้าสู่ตลาดค้าปลีก ของเวียดนาม นอกจากนี้ การขยายตัวช่องทางการค้าปลีกสมัยใหม่ในเวียดนาม เป็นการเพิ่มช่องทางการ กระจายสินค้าเข้าถึงผู้บริโภคเวียดนามมากขึ้น เป็นโอกาสสำหรับสินค้าไทยในการขยายตลาดเวียดนาม
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ