ฮานอย เข้าเครือข่ายเมืองแห่งความสร้างสรรค์ของยูเนสโก
เมื่อเดือนตุลาคมปี 2019 ยูเนสโกไประกาศรับรองให้เมือง66แห่งของประเทศต่างๆทั่วโลกเข้าเครือข่ายเมืองแห่งความสร้างสรรค์ของยูเนสโกโดยมีสาขาที่เป็นมาตรฐานในการคัดเลือก7ประเภทได้แก่ หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน, การออกแบบ, ภาพยนตร์, อาหาร, วรรณกรรม, สื่อศิลปะและดนตรี ซึ่งกรุงฮานอยของเวียดนามได้รับประกาศเป็นเมืองแห่งการออกแบบในเครือข่ายเมืองแห่งความสร้างสรรค์ของยูเนสโก อันเป็นโอกาสให้ฮานอยกำหนดเครื่องหมายที่เป็นอัตลักษณ์และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของเมืองแห่งการออกแบบด้านวัฒนธรรมสู่ทั่วโลก
เครือข่ายเมืองแห่งความสร้างสรรค์ของยูเนสโกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2004 ด้วยจุดประสงค์คือมุ่งส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมใหม่และการรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยกระตุ้นเมืองสมาชิกให้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ผ่านการนำเสนอมรดกของท้องถิ่น เพื่อรับมือกับกระแสโลกาภิวัฒน์และถือเป็นหนึ่งในปัจจัยยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์มีสมาชิกเป็นเมืองน้อยใหญ่ 246 แห่ง ปัจจุบันทั่วประเทศมีรูปแบบบรรยากาศแห่งการสร้างสรรค์ 140 รูปแบบ ซึ่งเฉพาะในฮานอยก็มี 60 รูปแบบในหลากหลายหัวข้อทั้งวิจิตศิลป์ ประติมากรรม แฟชั่น สถาปัตยกรรม ภาพยนตร์ งานเทศกาล เป็นต้น
นายบุ่ยหว่ายเซิน หัวหน้าสถาบันวัฒนธรรมศิลปะแห่งชาติเวียดนามเผยว่า “ตัวเลขของแหล่งรูปแบบบรรยากาศแห่งการสร้างสรรค์ในฮานอยจากการรวบรวมของสภาแห่งอังกฤษได้สะท้อนให้เห็นว่า ฮานอยมีศักยภาพพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมนี้เนื่องจากมีประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่ยาวนานและมีแหล่งภูมิปัญญาที่หลากหลาย มีส่วนร่วมที่เข้มแข็งต่อกระบวนการพัฒนาเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมใหม่ สร้างสรรค์ให้สังคมน่าอยู่มากขึ้นผ่านบรรยากาศแห่งศิลปะวัฒนธรรมที่เปี่ยมด้วยคุณค่าแห่งชุมชน"
การที่กรุงฮานอยได้รับประกาศเป็นเมืองแห่งการออกแบบในเครือข่ายเมืองแห่งความสร้างสรรค์ของยูเนสโกได้สะท้อนให้เห็นว่าฮานอยไม่เพียงแต่มีประวัติการก่อตั้งและพัฒนาที่ยาวนานเท่านั้น หากยังมีการผสมผสานอย่างกลมกลืนของวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งเด่นชัดที่สุดคือแหล่งโบราณสถานหว่างแถ่งทังลองที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกโลก โดยไม่เพียงแต่มีสถาปัตยกรรมที่มีอายุเก่าแก่เท่านั้น หากยังเป็นแหล่งอนุรักษ์คุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวัฒนธรรมของนครหลวงอีกด้วย นอกจากนั้นฮานอยยังเป็นศูนย์รวมสถาปัตยกรรมที่หลากหลายจากประเทศตะวันตกและตะวันออก สถาปัตยกรรมพื้นบ้านและอารยธรรมโลกที่ผสมผสานเข้ากันอย่างกลมกลืนในตัวเมือง เช่น โรงละครใหญ่ฮานอย สะพานลองเบียน สะพานเญิตเติน เป็นต้น
ทางการกรุงฮานอยยังได้จัดกิจกรรมต่างๆในด้านการออกแบบอย่างสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองความต้องการด้านชีวิตจิตใจของชาวครหลวงเช่น การเปิดถนนคนเดินรอบสระหว่านเกี๊ยม ย่านถนนภาพวาดฝุ่งฮึง ตลอดจนโครงการส่งเสริมความดีเลิศแห่งหมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามของสหพันธ์หมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามที่ส่งเสริมกิจกรรมการออกแบบอย่างสร้างสรรค์แห่งยุคสมัยที่ผสานกับงานด้านศิลปะหัตถกรรมพื้นเมือง นางฮาถิวินห์ รองประธานสหพันธ์หมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามเผยว่า “โครงการความดีเลิศแห่งหมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามดำเนินการที่หมู่บ้านเซรามิกบ๊าตจ่าง ซึ่งที่นี่มีค่ายแห่งความออกแบบสร้างสรรค์เพื่อเป็นที่แลกเปลี่ยนสังสรรค์ระหว่างช่างศิลป์และนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปะเทคโนโลยี เปิดโอกาสในการแนะนำเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติเวียดนามต่อนักท่องเที่ยว ซึ่งรูปแบบนี้จะได้รับการขยายผลไปยังหมู่บ้านศิลปาชีพอื่นๆ"
กรุงฮานอย เมืองแห่งการออกแบบในเครือข่ายเมืองแห่งความสร้างสรรค์ของยูเนสโก ได้มีโอกาสยกระดับสถานะของเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรมพันปีของโลกให้สูงเด่นยิ่งขึ้น ส่งเสริมการเชื่อมโยงเพื่อปฏิบัติคำมั่นต่างๆระหว่างเมืองที่เป็นสมาชิกในองค์กรเมืองแห่งความสร้างสรรค์ของยูเนสโกผ่านการปฏิบัติโครงการเพื่อสร้างบรรยากาศการออกแบบอย่างมีความสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาวัฒนธรรม ปกป้องและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่นต่างๆของชาติทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ที่มา : vovworld.vn
วันที่ 1 ธันวาคม 2562