เวียดนามดึงสิงคโปร์ลงทุนในดานัง
เวียดนามมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการลงทุนของสิงคโปร์ในเมืองดานังมากขึ้น โดยรองประธานสภาประชาชนของดานังได้เน้นย้ำถึงแผนการเติบโตของเมืองในการสัมมนาออนไลน์ที่จัดโดยสหพันธ์ธุรกิจสิงคโปร์ (SBF) และสถาบันการแข่งขันแห่งเอเชีย (ACI) — โรงเรียนลีกวนยูแห่งนโยบายสาธารณะ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2021
เมื่อเร็วๆ นี้ดานังได้แก้ไขแผนแม่บทปี 2030 โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและสังคมสำหรับผู้ประกอบการ นวัตกรรม การพาณิชย์ และการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2045
บริษัทในสิงคโปร์ได้ลงทุนใน 28 โครงการในเมืองดานัง มูลค่ารวม 838 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้สิงคโปร์เป็นแหล่งลงทุนจากต่างประเทศใหญ่เป็นอันดับสองในดานัง คิดเป็น 22% ของทุนจดทะเบียนโดยรวมในเมืองดานัง นอกจากนี้ ในบรรดา 112 ประเทศที่ลงทุนในเวียดนามในปี 2020 นั้น สิงคโปร์เป็นผู้นำด้วยการลงทุนมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 31.5% ของการลงทุนทั้งหมด
ดานังกำลังเร่งดึงการลงทุนของสิงคโปร์ในด้านต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การสร้างท่าเรือและสนามบิน อุตสาหกรรมทางทะเล การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสูง ระบบอัตโนมัติ เศรษฐกิจดิจิทัล การศึกษา และการดูแลสุขภาพ และอื่นๆ
สิงคโปร์มีชื่อเสียงในด้านระบบการผลิตระดับโลก และแรงงานที่มีทักษะและปรับตัวได้ สิงคโปร์ติดอันดับ 3 ในดัชนีบุคลากรที่ความสามารถในการแข่งขันทั่วโลกประจำปี 2020 Global Talent Competitiveness Index
สิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนชาวสิงคโปร์ในดานัง :
นักลงทุนชาวสิงคโปร์มีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์หลายด้านจากการลงทุน แม้จะขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรมและมูลค่าของการลงทุน
นิคมอุตสาหกรรมของดานัง (IPs) มีเงื่อนไขที่เอื้อแก่นักลงทุนต่างชาติ ดานังมีนิคมทรัพย์สินทางปัญญา 6 แห่ง และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค 1 แห่ง โดยนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคนี้จัดไว้รองรับบริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์ล้ำสมัย เช่น ชิปคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทางการแพทย์
นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคดานัง ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วง 4 ปีแรก และเก็บภาษีในอัตรา 5% ใน 9 ปีถัดไป จากนั้นจะเก็บ 10% เป็นเวลา 2 ปี การลงทุนที่มีมูลค่ามากกว่า 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 10% เป็นเวลา 30 ปี
โครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยงกับภูมิภาค :
ดานังเป็นประตูสู่ภาคกลางของเวียดนามและตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาสำคัญเพื่อส่งเสริมการรวมตัวของเมียนมา ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
ดานังขึ้นชื่อในด้านเครือข่ายการขนส่งที่เชื่อมโยงกัน สถานีรถไฟของเมืองเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลาง และมีทางหลวงสายใหม่ดานัง-กว่างหงายเชื่อมดานังกับเขตเศรษฐกิจชูไลและดุงกวาง
ดานังกำลังวางแผนที่จะเปิดประกวดราคาสำหรับการพัฒนาท่าเรือใหม่ในปีหน้า โครงการท่าเรือ Lien Chieu จะรองรับรองรับการขนส่งสินค้าน้ำหนัก 100,000 ตัน และตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต (TEU) จำนวน 8,000 ตู้ และสามารถรองรับการขนสินค้าได้ 46 ล้านตันต่อปีภายในปี 2573
เจ้าหน้าที่เมืองดานังมองความสำเร็จของสิงคโปร์กับท่าเรือสิงคโปร์เป็นแบบอย่าง ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายตู้สินค้าที่พลุกพล่านที่สุดในโลก และมีการเชื่อมต่อไปยังท่าเรือระหว่างประเทศอีก 123 แห่ง ท่าเทียบเรือสินค้าบรรจุตู้อัตโนมัติขนาดใหญ่ชื่อ Tuas Port กำลังสร้างขึ้นที่ท่าเรือ และเมื่อแล้วเสร็จในปี 2040 จะเป็นท่าเทียบเรืออัตโนมัติเต็มรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นอกจากการพัฒนาท่าเรือแล้ว ดานังยังจะปรับปรุงสนามบินนานาชาติเป็น 2 รันเวย์ ขยายอาคารผู้โดยสาร 1 เพื่อรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 14 ล้านคนต่อปี สร้างอาคารผู้โดยสารใหม่หรือเทอร์มินัล 3 และขยายอาคารขนส่งสินค้า
ที่มา thaipublica.org
วันที่ 13 มิถุนายน 2564