ร่วมงานสัมมนา "สร้างภูมิคุ้มกัน ฝ่าภัยโควิด" ที่จัดโดย "ประชาชาติธุรกิจ" มีการจัดเสวนาพิเศษหัวข้อ "New normal : ประเทศไทยในวิถียั่งยืน"

สนั่น อังอุบลกุล ประธานหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ร่วมงานสัมมนา “สร้างภูมิคุ้มกัน ฝ่าภัยโควิด” ที่จัดโดย “ประชาชาติธุรกิจ” มีการจัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “New normal : ประเทศไทยในวิถียั่งยืน” เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564
 
โดยในงานมีวิทยากรรับเชิญ ฯพณฯ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, มร.เจมสื ทีก ประธานบริษัทแอสตร้าเซเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด, นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG), คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) และนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย, คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และคุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ร่วมด้วย
 
 
สรุปประเด็นการเสวนา :
 
หอการค้าชี้เศรษฐกิจ Q4 ฟื้น คลายล็อกประเทศอัด 5 แสนล้าน ดันจีดีพี’65 โต 6-8%
 
หอการค้ามั่นใจเศรษฐกิจไทย Q4 ฟื้นหลังคลายล็อกเปิดประเทศ คนไทยได้รับวัคซีน 70% เร่งอัดเม็ดเงิน 5 แสนล้านกระตุ้น กกร. หวังจีดีพีปี 65 โต 6-8% ชูปรับ 3 แวลูเชนวัคซีนฟื้นประเทศ
 
 
ในการสัมมนา “สร้างภูมิคุ้มกัน ฝ่าภัยโควิด” ที่จัดโดย “ประชาชาติธุรกิจ” ได้มีการจัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “New normal : ประเทศไทยในวิถียั่งยืน” โดยมี ”นายสนั่น อังอุบลกุล” ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้ความมั่นใจว่า
 
เศรษฐกิจไทยเห็นแสงสว่างครึ่งปีหลัง :
เห็นแสงสว่างแน่นอน ตอนนี้จะเห็นว่าวัคซีนเข้ามาแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลง ซึ่งเป็นการส่งสัญาณที่ดีมาก ขณะเดียวกันเดือนกันยายน 2564 ภาครัฐบาลก็มีการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ประชาชน ภาคธุรกิจ ก็มีมากขึ้น ซึ่งคิดว่าในไตรมาส 4 นี้ จะดีมาก เพราะเป็นช่วงปลายปีมีเทศกาลต่าง ๆ การท่องเที่ยวก็เริ่ม สิ่งสำคัญสุดเมื่อภาครัฐมีมาตรการที่ผ่อนคลายแล้ว ภาคธุรกิจมีความพร้อมที่วางมาตรการต่าง ๆ ที่จะคอยดูแลธุรกิจของตัวเอง ประชาชนให้ความร่วมมือมีจิตสำนึกในการใช้บริการต่าง ๆ คิดถึงความปลอดภัย คิดว่าทุกคนต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน
 
มาตรการผ่อนคลายประเทศ ส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร :
ตั้งแต่ต้นปี 2564 จนถึงเดือนสิงหาคม เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากปัญหาโควิด-19 เสียหายไปแล้ว 1 ล้านล้านบาทไปแล้ว แต่ขณะนี้ภาครัฐได้มีการขยายเพดานหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก 60% เป็น 70% ซึ่งจะส่งผลให้สามารถกู้เงินเพิ่มได้ประมาณ 1 ล้านล้านบาท คิดว่า 5 แสนล้านบาท สามารถนำมาใช้เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยาภาคธุรกิจ เยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ในช่วงไตรมาส 4 และต่อจาก 5 แสนล้านบาทที่เหลือ ต้องการใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2565 คิดว่าจะทำให้จีดีพีของไทยขยายตัว
 
ขณะที่จีดีพีไทยปีที่ผ่านมา ติดลบ 6% กว่า และถ้าเศรษฐกิจสามารถฟื้นฟูกลับมาได้ ประชาชนได้รับวัคซีนคลอบคลุม 70% ของประชากรทั้งประเทศ ปี 2565 เราก็มองว่าจะเป็นปีที่เราท้าทายอย่างมาก ซึ่งทางคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (กกร.) ก็ได้ทำการประเมินการขยายตัวเศรษฐกิจไทยไว้อยู่ที่ 6-8%
 
โอกาสที่จีดีพีของไทยจะโต 6-8% ก็น่าจะเป็นไปได้ การท่องเที่ยวค่อยฟื้นตัวกลับมา การส่งออกของไทยก็มีโอกาสเติบโต แม้ว่าทั้งปี 2564 ไทยจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ส่งออกได้รับผลกระทบมีความอ่อนไหว จากปัญหาเรื่องของอัตราค่าระวางเรือที่เพิ่มขึ้น ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก แต่เชื่อว่าการส่งออกไทยทั้งปีนี้ยังขยายตัว 12-14%
 
หอการค้ามีบทบาทให้คำแนะนำผู้ประกอบการปรับตัวอย่างไร :
ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส เช่น ขณะนี้จะเห็นว่าประชาชนเร่งเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้อย่างเต็มที่ สามารถทำงานที่บ้านได้ ก่อให้เกิดธุรกิจใหม่มากขึ้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีก็ไม่จำเป็นที่ต้องลงทุนด้วยตัวเอง หรือมีร้านค้า ก็สามารถทำการค้าขายบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้
 
ทั้งนี้ หอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้กับธุรกิจอย่างไรบ้าง การค้าขายในประเทศ ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจาก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้มีการมอบหมายให้พาณิชย์จังหวัดต้องเป็นเซลล์แมน ทูตพาณิชย์ทั่วโลก ก็เป็นเซลล์แมน เหมือนกัน ฉะนั้น สิ่งที่เราเจอปัญหาเราก็จะมีการผ่านความร่วมมือที่ร่วมกันตั้ง คือ กรอ.พาณิชย์ เมื่อทุกปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้การส่งออกโต
 
ต้นปีนี้คิดว่าการส่งออกจะโต 10% แต่เราสามารถผลักดันให้การส่งออกขยายตัวได้ 12-14% ซึ่งมีความเป็นไปได้จากความร่วมมือที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
 
หอการค้าช่วยเหลือเอสเอ็มอีอย่างไร :
สภาพคล่องของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเป็นสิ่งสำคัญ หอการค้าไทยจึงได้จัดทำ ซีเอนซี เซนบล็อก คือ เอากลุ่มซัพลายเชน กลุ่มค้าปลีกมาจัดการโดยเอากลุ่มลูกค้าที่เป็นค้าปลีก ร่วมมือกับสถาบันการเงินในการพิจารณาอนุมัติปล่อยกู้ ให้กับซัพพลายเออร์ที่เป็นเอสเอ็มอีให้มีการจ่ายเงินให้เร็วขึ้น และหากต้องการใช้เงินก็สามารถนำใบคำสั่งซื้อมาเป็นหลักประกันได้ หรือมีการพิจารณาการชำระหนี้ให้สั้นที่สุด ซึ่งจะเป็นการช่วยเรื่องของสภาพคล่อง
 
 
ขณะเดียวกันสิ่งที่สำคัญที่สุด ช่วงที่มีโควิดบริษัทใหญ่แม้ได้รับผลกระทบ แต่ไม่ได้หนักเหมือนตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง ฉะนั้น ช่วงนี้ธุรกิจขนาดใหญ่ต้องช่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ให้สามารถเดินหน้าไปด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่หอการค้าไทยได้รณรงค์อย่างหนักซึ่งได้ผลดี โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมกันและภาครัฐก็เป็นส่วนสำคัญในการออกหน้าในการเจรจาช่วยเหลือเอสเอ็มอี
 
นอกจากนี้ หอการค้าไทยยังได้มีการหารือกับ CEO และ 6 สถาบันการเงิน มาหารือกันในการหาทางออก ว่าอุปสรรค ข้อจำกัดส่วนไหนที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ได้ออกกฎเกณฑ์ไว้ สามารถที่จะเจรจาหาทางออกร่วมกันได้ ซึ่งร่วมหารือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการช่วยเหลือสามารถปล่อยสินเชื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ ตรงไหนมีการติดเครดิตบูโร ติดสินเชื่อ จำเป็นต้องแก้ไขตรงไหนเพื่อให้ปล่อยสินเชื่อได้ เป็นสิ่งจำเป็น
 
บทเรียนจากโควิดสอนเรื่อง VUGA :
บทเรียนจากโควิดที่เราเรียนรู้ทุกอย่างต้องมีความยืดหยุ่น จะต้องแก้ไจปัญหา บริหารจัดการแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด เราจะเจอว่าเศรษฐกิจช่วงนี้เป็นช่วง VUGA คือ เศรษฐกิจโลกผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอนสูง (Uncertainty) ความซับซ้อนสูง (Complexity) ความคลุมเครือ (Ambiguity) สิ่งเหล่านี้ ทำให้การคลี่คลายปัญหาจัดการแบบ New Normal ที่เราต้องจัดการสิ่งเหล่านี้ให้ได้
 
อนาคตการค้า-การลงทุน ในภาวะสงครามการค้า :
ต่อไปการค้าไม่ได้มีแค่ภาษีอย่างเดียว แต่สิ่งแวดล้อมเข้าใกล้ตัวมากขึ้น หอการค้าก็ทำงานร่วมทุกฝ่ายเกี่ยวกับ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งมีความสำคัญและสามาถทำให้เอสเอ็มอี ทำธุรกิจสตาร์ทอัพ เช่น อีวีมา รถไฟฟ้ามา ซอฟแวร์ ลงทุนไม่ยาก คิดว่าจะเป็นส่วนช่วยให้เอสเอ็มอีเกิดขึ้น
 
เราต้องดึงดูงนักลงทุนต่างชาติอย่างไร ซึ่งมีผู้ที่เกี่ยวข้อง จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เข้ามา เราจะแนะนำ จับคู่ธุรกิจให้เอสเอ็มอี เราอยู่คนเดียวไม่ได้ เอาคนมาลงทุนในประเทศทำอย่างไรให้การทำธุรกิจได้ง่าย กฎหมายเราจะล้าหลังไม่ได้ สิทธิประโยชน์ที่จะให้ผู้ที่เข้ามาลงททุน ซึ่งเรามีคู่แข่งทั้งเวียดนาม อินโดนีเซีย เราต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง
 
ขณะเดียวกัน เราจะอยู่คนเดียวได้เหรอ อยู่ไม่ได้สู่กับต่างประเทศไม่ได้ และข้อตกลงทางการค้าที่เราเข้าไป (ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค) RCEP ก็มีความสำคัญมากเรามีการผลักดันเจรจาการค้าไปกับหลายประเทศ เอฟทีเอ ไม่อย่างนั้นเราสู่เวียดนามไม่ได้
 
อย่าง CPTPP (ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก) ตอนนี้เวียดนามก็อยู่ในนั้น จีน อังกฤษ ไต้หวัน ก็จะเข้า ประเทศไทยที่จะกล้าเริ่มเจรจา แสดงเจตจำนงค์ไหม ถ้าเราเข้าไปก็ต้องใช้เวลาในการเจรจาอีก 4 ปี ต่อรองแก้ไข เรื่องต่าง ๆ ต้องปรับตัว ของเราเองและต้องได้รัความร่มมือ 11 ประเทศรับเราไหม ถ้าเราช้า ต้องไปเจรจาประเทศอื่นอีก เราต้องคิดยาว
 
ต้องเห็นใจว่าเรามีหลายเรื่องไม่พร้อม แต่มีแต้มต่อที่จะคุยได้ กระทรวงต่างประเทศก็เป็นเจ้าภาพอยู่แล้ว เอกชนก็มีการหารือกับกระทรวงต่างประเทศ มีสิ่งที่ต้องแก้ไข เตรียมตัว ตอนนี้หน่วยงานรัฐก็พยายามคุยกับภาคประชาสังคม เนื่องจากมีความกังวลในหลายเรื่อง อยากเห็นว่ามีการจับเข่าคุยว่าประเด็ฯไหนที่กังวลมาก เสียประโยชน์ เสียหายมาก มาหาทางออกร่วมกัน เพราะการเจรจาต้องใช้เวลา หากจากนั้นเสียเปรียบไทยก็ถอนได้ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องไปเป็นสมาชิกของภาคี
 
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส :
 
คิดว่าจะมีธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวสุขภาพ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นธุรกิจ ดาวรุ่ง เรามี EEC อยู่แล้วก็ผลักดันให้เกิดขึ้น มีปัญหาก็ต้องช่วยกัน หอการค้าไทยเอง ก็หารือว่าหลังโควิดจะฟื้นฟูประเทศอย่างไร คิดว่าเรื่องของโครงสร้างของประเทศไทย ท่องเที่ยว ส่งออก จะต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร ก็ต้องเราที่จะสร้างผลกระทบที่ดีให้กับประเทศ
 
ไทยเรียกความเชื่อมั่นคืนมา :
 
ขณะนี้เราต้องส่งสัญญาณสร้างความเชื่อมั่น เราต้องให้ความสำคัญกับ 3 แวลูเชน คือภาคการท่องเที่ยวและบริการ การค้า และภาคเกษตร หอการค้าไทยได้มีการหารือ 40 CEO ก็มีประเด็น คือ เกษตรต้องทำอย่างไรให้สมัยใหม่ การศึกษาต้องปรับ การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้คุณภาพและศักยภาพ เพื่อที่จะไปแข่งขันได้
 
หอการค้าได้สร้างความเชื่อมั่น คือ ด้านการค้า ขายในประเทศอย่างเดียวไม่ได้ต้องขายต่างประเทศ ซึ่งจะเริ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งเป็น “ทีมไทยแลนด์พลัส” ซึ่งร่วมเอกชนที่ค้าขาย ลงทุนในต่างประเทศ ให้โอกาสเอกชน โอกาสที่ให้ภาครัฐช่วยแก้อุปสรรค การลงทุน ไม่เพียงแต่เอามาลงทุนในไทย แต่ต้องสร้างอย่างไรให้ไทยไปลงทุนในต่างประเทศ
 
การท่องเที่ยวและการบริการ ขณะนี้ต้องการให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามา เอกชน ก็ต้องสร้างแอปพลิเคชั่นในการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเพื่อติดตาม อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชั่นตัวเดียว ถ้าทำได้ ก็จะทำให้ผู้ที่มาใช้บริการ ท่องเที่ยว ทำธุรกิจ ได้เป็นสิ่งที่ต้องร่วมกัน
 
ภาคเกษตร ดูจากจีนจะเห็นว่า ส่งเสริมให้ความสำคัญเพื่อให้ความอยู่ดูกินดี ไม่ให้ความเลื่อมล้ำ เอาเทคโนโลยี คนรุ่นใหม่ เรียนรู้กลับไปพัฒนาภคเกษตร สร้างมาเกตแพลตให้ภาคเกษตร มีพี่เลี้ยงในการช่วยเหลือในการค้า ระบายสินค้า สามารถแก้จนให้ภาคเกษตร และอนาคต เอาเทคโนโลยีให้จีนทรงพลังทุกเรื่อง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไทยต้องให้ความสำคัญ
 
เป็นสิ่งที่หอการค้าไทยต้องทำ ซึ่งเป็นภารกิจที่เราต้องเดินหน้าไปให้ได้ คือ ลดความเลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถให้เอกชน สิ่งที่จะเกิดไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เอกชนมองว่า ต้องทำตัวทำอย่างไรให้เชื่อมการทำงาน ทำทุกอย่างให้เกิดขึ้น และสร้างความเชื่อมั่น สร้างความสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้อย่างยั่งยืน
 
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ 
วันที่ 29 กันยายน 2564 
 

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)