"หอการค้า" เผย เชื่อมั่นผู้บริโภคมิ.ย.ฟื้นสุดรอบ 6 เดือน-รัฐลดราคาน้ำมันดีต่อเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การที่รัฐลดราคาน้ำมันเบนซินลง 3 บาทต่อลิตร เป็นการปรับตามสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก และรัฐพยายามจะลดราคาน้ำมันตามกรอบที่เหมาะสม เนื่องจากรัฐตรึงราคาน้ำมันดีเซลโดยการใช้เงินกองทุนน้ำมันอุดหนุนน้ำมันดีเซลอยู่ แต่เบนซินไม่ได้มีการชดเชย เมื่อน้ำมันตลาดโลกลดลงอยู่ระดับเฉลี่ย 105 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก็เป็นสิ่งที่รัฐเลือกปรับราคาลงตาม เพื่อพยุงสถานการณ์อำนาจซื้อของระบบเศรษฐกิจ
 
จากการลดราคาน้ำมันประมินว่าอาจมาจาก 2 ประเด็น 1.ลดน้ำมันรับวันหยุด ซึ่งการที่น้ำมันลงเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการประหยัดเม็ดเงินในกระเป๋า 2.การผลักดันเรื่องการท่องเที่ยว โดยหอการค้าไทยเคยประเมินสำหรับน้ำมันเบนซินทุก 1 บาท ที่ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจประมาณ 0.1% ต่อปี ดังนั้น การที่ราคาน้ำมันลงได้ถึง 3 บาท และตรึงอยู่ได้ระดับนี้จะสามารถดึงเศรษฐกิจได้ประมาณ 0.15% จะทำให้เม็ดเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
 
“การใช้น้ำมันเบนซินจะใช้เฉลี่ยประมาณวันละ 30 ล้านลิตร การที่น้ำมันลง 3 บาท จะทำให้คนไทยประหยัดเงินได้ประมาณ 90 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งก็คือ 2,700 ล้านบาทต่อเดือน และ 17,000 ล้านบาทต่อ 6 เดือน ดังนั้น เงินจำนวนนี้จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ประมาณ 0.15% เมื่อน้ำมันลงและมีการปรับราคาน้ำมันลงตาม ผู้บริโภคจะมีความเชื่อมั่นดีขึ้น เพราะเงินในกระเป๋ามากขึ้น เป็นผลดีต่อการจับจ่ายใช้สอย”นายธนวรรธน์กล่าว
 
นายธนวรรธน์กล่าวว่า การสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจและหอการค้าทั่วประเทศ จำนวน 369 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 22-30 มิถุนายน 2565 โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยโดยรวม อยู่ที่ระดับ 36.3 ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 35.2 ในเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นการปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคม ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นในปัจจุบัน และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคต อยู่ที่ระดับ 35.5 และ 37.1 ตามลำดับ สะท้อนถึงสัญญาณเชิงบวกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ
 
ขณะที่จากการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2565 โดยกลุ่มตัวอย่าง 2,244 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคแบ่งตามระยะเวลาปรับตัวดีขึ้นทุกรายการเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 41.6 เป็นการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนที่แล้วที่ 40.2 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 26.0 มาอยู่ที่ 27.3 ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 46.9 มาอยู่ที่ระดับ 48.3 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 35.7 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม อยู่ที่ระดับ 39.2 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 49.8 เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนพฤษภาคม 2565 ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ
 
อย่างไรก็ตาม ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติที่ระดับ 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนยังคงกังวลในสถานการณ์โควิดในประเทศไทยและทั่วโลกที่ยังคงมีอยู่แม้ว่าจะคลายตัวลงก็ตาม ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง
 
นายธนวรรธน์กล่าวว่า สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกับดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เดือนมิถุนายน 2565 โดยปัจจัยลบ 
 
(1)ระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเดือนที่ 2 หลังจากการที่รัฐบาลได้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร ปรับเพิ่มขึ้น 2.00 บาทต่อลิตร จากระดับ 32.94 บาทต่อลิตร มาอยู่ที่ระดับ 34.94 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565
 
(2)ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้า ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมถึงรายปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น 
 
(3)ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดโควิด (
 
(4)SET Index ปรับตัวลดลง 95.08 จุด โดยปรับตัวลคลงจาก 1,663.41 จุด ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 เป็น 1,568.33 จุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565
 
(5)ความกังวลต่อสงครามระหว่างรัสเชียและยูเครน อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกปรับตัวสูงขึ้น และกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันการฟื้นตัวระบบเศรษฐกิจโลกช้าลง หรือชะลอตัวลง และอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยในอนาคต และ 
 
(6)เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับ 34.416 บาทต่อเหรียญหรัฐ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 เป็น 34.972 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 สะท้อนว่ามีการไหลออกสุทธิของเงินตราต่างประเทศ
 
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ปัจจัยบวกที่มีผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประกอบด้วย 
 
(1)ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้ผ่อนคลายมาตรการในการเดินทางเข้าประเทศไทย ผ่อนคลายให้เปิดสถานบันเทิง และมีการผ่อนคลายการสวมหน้ากากอนามัยทั่วราชอาณาจักรให้เป็นโดยความสมัครใจ เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้ใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติ เป็นผลเชิงบวกต่อการท่องเที่ยว ตลอดจนภาคธุรกิจและภาคบริการต่างๆ ของไทย 
 
(2)การฉีดวัดซีนของทั้งโลกทำให้สถานการณ์โควิดปรับตัวดีขึ้น และการฉีควัคซีนในประเทศเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเริ่มมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
 
(3)คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่องและมี โอกาสฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้ จากอุปสงค์ในประเทศและแรงส่งจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราเงินเอทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้เดิม จากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันและการส่งผ่านดันทุนที่มากและนานกว่าคาด ซึ่งมองไปข้างหน้าการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะมีความจำเป็นลดลง
 
(4)คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ใหม่ โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ 3.3% จากเดิม 3.2% ส่วนปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.2% จากเดิม 4.4% และคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวในปีนี้ที่ 6 ล้านคน เพิ่มจากเดิม 5.6 ล้านคน และปี 2566 ที่ 19 ล้านคน ขณะที่มูลค่าส่งออกคาคว่าปีนี้จะขยายตัวได้ 7.9% จากเดิม 7.0% ส่วนปี 2566 เป็น 2.1% จาก 1.5%
 
(5)การส่งออกของไทยเดือนพฤษภาคม 2565 มีมูลค่า 25,508.96 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.47% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 27.383.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.1% ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 1,874.22 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ช่วง 5 เดือนแรกปี 2565 ส่งออกได้รวม 122,63 1.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.91% และมีการนำเข้ารวม 27,358.31 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.21% ส่งผลให้ขาดดุลการค้ารวม 4,726.55 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 
 
(6)ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดี โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และข้าวโพคเลี้ยงสัตว์ ส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น
 
ทั้งนี้ หอการค้าได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในการแก้ไขปัญหา อาทิ 1.มาตรการดูแลเรื่องต้นทุน ราคาปัจจัยการผลิต และต้นทุนการดำเนินงานต่างๆ 2.มาตรการดูแลราคาพลังงาน เช่น น้ำมัน แก๊ส ไฟฟ้า และอื่นๆ ให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงจนเกินไป จนทำให้ต้นทุนการประกิจการและการดำเนินชีวิตของประชาชนสูงขึ้น 3.มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพป ระชาชนในช่วงของค่าพลังงานที่ขยับเพิ่มสูงขึ้น 4.แนวทางการดูแลนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติที่จะเข้าไปท่องเที่ยวตามสถานที่สำคัญๆ ต่างๆ ทั่วในประเทศไทย 5.การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตภาคประชาชน และภาคธุรกิจอีกครั้ง และ 6.กระตุ้นประชาชนให้เร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดผลรุนแรงหากได้มีการสัมผัสเชื้อ
 
“ไทยต้องเผชิญความท้าทายจากค่าเงินอ่อนลงรวดเร็ว และเป็นจุดที่ทำให้เข้าสู่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น และสถานการณ์โควิดสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งไทยกำลังเริ่มเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวเข้ามา ปัจจัยต่างๆ มีทั้งบวกและลบ ซึ่งจากผลสำรวจทั้ง 2 ส่วนสอดคล้องกัน โดยได้ส่งสัญญาณคล้ายกันในเชิงบวก และเป็นสัญญาณที่เป็นจุดเริ่มต้นที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นขยายตัวได้ทั้งปี 2.5-3.5% และไตรมาส 3/2565 ขยายตัว 4.1 % และครึ่งปีหลังขยายตัวเฉลี่ย 4.8% จากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว” นายธนวรรธน์ กล่าว
 
นายธนวรรธน์กล่าวว่า สำหรับประเด็นเศรษฐกิจมหภาคที่เป็นกัวลคือเงินเฟ้อ จากเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน ระดับ 7.6% อยู่ในระดับสูง ทำให้ครึ่งปีแรกของอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยประมาณ 5% ช่วงไตรมาส 3/2565 จะมีค่าเฉลี่ย 7.6% หมายความว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในกรอบ 7-8% เยื่องจากสถานการณ์น้ำมันทรงตัวสูง และราคาสินค้าจะเริ่มปรับลง ซึ่งเพดานเงินเฟ้อไม่ควรเกินทะลุ 8.5% ช่วงไตรมาส 4/2565 คาดว่าเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 5.5-6% จากสถานการณ์จะผ่อนคลาย เนื่องจากปลายปี 2564 ที่ราคาน้ำมันแพงกว่าครึ่งปีแรกทำให้เงินเฟ้อมีตัวเลขไม่เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่
 
นอกจากนี้ คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และขึ้นต่อเนื่อง 3 ครั้ง ดอกเบี้ยจะอยู่ระดับ 1.25% จะทำให้เงินเฟ้อลดลงได้ ดังนั้น คาดว่าเงินเฟ้อช่วงครึ่งปีหลังเฉลี่ยอยู่ระดับ 6.7% และคาดว่าทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 6.2% คาดว่าเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทำให้ค่าครองชีพจะเดือดร้อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าประชาชนจะสามารถรับมือได้ในระดับหนึ่ง และรัฐจะพยายามตรึงราคาน้ำมันให้ใกล้เคียง 35 บาทต่อลิตรในไตรมาสที่ 3
 
ทั้งนี้ นานาชาติเริ่มมองว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้แรงกดดันราคาน้ำมันจะไม่สูงเกิน 120 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และน้ำมันช่วงไตรมาส 3 ควรอยู่ระดับ 110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลโดยประมาณ จึงคาดว่าไม่มีแรงกดดันใดเพิ่มเข้ามากระตุ้นราคาน้ำมันเพิ่ม และเชื่อว่าภาคเอกชนสามารถแบกรับต้นทนได้ระดับหนึ่งและยังไม่มีการปรับราคาสินค้า
 
“สำหรับค่าเงินบาททะลุ 36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ มาจาก 2 สาเหตุ 1.เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง 2.ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง ทำให้คนเลือกถือเงินเหรียญสหรัฐมากขึ้น ดังนั้น ค่าเงินบาทช่วงนี้ทรงตัวในระดับ 36-36.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หลังจากนี้เชื่อว่าถ้านักท่องเที่ยวเข้ามาช่วยหนุนให้การส่งออกขยายตัวในกรอบ 5-7% ปีนี้ คาดว่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าไตรมาส 4/2565 ในกรอบ 35-36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ”นายธนวรรธน์กล่าว
 
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 7 กรกฏาคม 2565 

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)