ผู้นำธุรกิจ ตบเท้าแลกเปลี่ยนไอเดียลดโลกร้อนคับคั่ง ในงาน CAL Forum #2

บรรดาผู้นำทั้งจากภาครัฐและเอกชน ตบเท้าเข้าร่วมงาน Climate Action Leaders Forum รุ่นที่ 2 หรือ CAL Forum #2 กันอย่างคับคั่ง เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองในการช่วยลดโลกร้อน เพื่อนำไทยไปสู่การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
 
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการ “Climate Action Leaders Forum รุ่น 2” หรือ CAL Forum #2 ซึ่งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นระดับผู้นำธุรกิจทั้งจากภาครัฐและเอกชน ภาคการศึกษา สื่อมวลชน และองค์กรอิสระ เพื่อหารือถึงแนวคิดและวิธีการในการลดโลกร้อน ลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยในครั้งนี้เวทีแลกเปลี่ยนความเห็นถูกจัดขึ้น ณ สโมสรราชพฤกษ์ กรุงเทพฯ ใน Theme : Supportive Measures, Innovation and Technology
 
ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ยังได้นำเสนอ (ร่าง) ) เอกสารของ CAL Forum #2 จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (ร่าง) Communications From CAL Forum #2 และ (ร่าง) คำประกาศเจตนารมณ์ รุ่น 2 ว่าด้วยการมุ่งมั่น ร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานต่อสู่ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเป็นผู้รับรองร่างดังกล่าว
 
โดยเนื้อหา(ร่าง)คําประกาศเจตนารมณ์ ของ CLIMATE ACTION LEADERS FORUM #2 ว่าด้วยการมุ่งมั่น ร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงาน ต่อสู้ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ มีดังนี้
 
พวกเรา ซึ่งเป็นผู้บริหารจากภาครัฐ ภาคเอกชนในธุรกิจการผลิต การเงิน และการบริการ ภาค วิชาการ ภาคสังคม และสื่อสารมวลชน ที่ได้มาร่วมอยู่ในฐานะภาคีของเวทีผู้นํา Climate Action Leaders Forum รุ่น 2 แห่งนี้ ซึ่งจัดขึ้นโดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย องค์การบริหารจัดการ ก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยอมรับถึง ความจําเป็นที่จะต้องเร่งเดินหน้าตอบสนองต่อภัยคุกคามเร่งด่วนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ซึ่งเป็นความสําคัญที่จะต้องบรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีส UNFCCC ที่มีเป้าหมาย เพิ่มเติม มุ่งพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลก ให้ไม่เกินจาก 2 องศาเซลเซียส ให้ได้เป็น 1.5 องศาเซลเซียส และด้วยผลกระทบจากภัยพิบัติที่มีความรุนแรงมากขึ้น และกระทบกับทุกคน โดย ไม่เลือกว่าประเทศนั้นจะยากจนหรือร่ํารวย มีขีดความสามารถมากหรือน้อย จึงเป็นเรื่องสําคัญที่การ ขับเคลื่อนไปสู่ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” (Net Zero GHG Emissions) จะไม่มีวันหยุด และจะเร่งเร็วขึ้น
 
ณ ที่นี้ ในกรุงเทพมหานคร ในฐานะของ Climate Action Leaders Forum รุ่น 2 เรา ประกาศเจตนารมณ์ความตั้งใจว่าเราจะมุ่งมั่นร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุนการดําเนินงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
 
 
 
1. ตกลงว่า เราต้อง Act Fast และ Act Now การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็น วิกฤติการณ์ใกล้ตัว ที่จําเป็นจะต้องมีการดําเนินการร่วมกันอย่างรวดเร็ว ทั้งในระดับองค์กร ระดับประเทศ และระดับโลก ที่ต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์วิธีคิด ด้วย Climate Change มิได้เป็นเพียง “มิติ สิ่งแวดล้อม” แต่เป็นเรื่องของ “มิติความมั่นคง” รูปแบบใหม่ที่ครอบคลุมถึงความมั่นคงทางอาหาร ความ มั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงด้านแหล่งน้ํา ด้านการค้าและการลงทุน
 
2. เรียกร้องว่า ประเทศไทยจําเป็นต้องมีกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกําหนดกฎระเบียบว่าด้วยเรื่อง Carbon Pricing และการรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการจัดทํา Green Taxonomy และ Sustainable Finance ตลอดจน การจัดตั้ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
 
3. ตระหนักว่า การเริ่มต้นแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควรเริ่มแก้ไขที่คน โดยมีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกัน (Collaboration) สร้างความร่วมมือในการดําเนินงานลดโลกร้อน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสร้างความ รับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างขึ้นกับขีดความสามารถของประเทศ (Common but Differentiated Responsibility and Respective Capabilities) จะต้องดําเนินการร่วมกันทั้งโลก ปัจจุบัน ในระดับองค์กร มีหลายองค์กรที่ได้ประกาศ ร่วมเข้าสู่ทิศทางเดียวกันกับกระแสโลก จึงเกิดเครือข่าย ความร่วมมือต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ อาทิ Race to Zero และการจัดตั้ง เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัล ประเทศไทย หรือ TCNN เพื่อให้เกิดการทํางานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น ชุมชนต่างๆ
 
4. สนับสนุน การปรับตัวของประเทศไทยที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของ ทิศทางโลกมุ่งสู่การดําเนินงาน Climate Action และ Net Zero Emissions เพื่อมิให้เสียโอกาสในการ เติบโตระยะยาว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยงด้าน ภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยจําเป็นต้องมีปัจจัยหลักสนับสนุน การดําเนินงาน คือ เงิน เทคโนโลยี ศักยภาพความพร้อม รวมถึงระบบการบริหารจัดการข้อมูล และความมุ่งมั่น
 
5. เน้นย้ําและส่งเสริมให้ ภาคธุรกิจดําเนินงานด้าน Climate Action เพื่อมุ่งสู่ เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero GHG Emissions และนําแนวทาง ESG ตลอดจน Green Investment การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว มาเป็นแนวทางดําเนินธุรกิจ
 
6. ตกลงว่า ภาคการเงิน เป็นภาคส่วนที่มีความสําคัญในการผลักดันและสนับสนุน ให้ภาคเอกชนสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero GHG Emissions ดําเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น จึงสนับสนุนการร่วมจัดทํา Green Taxonomy ให้เกิดขึ้นใน ประเทศไทย อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของ Sustainable Finance ที่จะกําหนดคํานิยามเกี่ยวกับ กิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
 
7. ยืนยันว่า ควรสร้างความตระหนักรู้ เกี่ยวกับทิศทาง นโยบาย และการดําเนินงาน Climate Action ให้กับภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน นักลงทุน ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ เป็นเรื่องที่ควร เร่งดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
 
 
8. ตระหนักว่า ภาคป่าไม้ มีบทบาทสําคัญเพิ่มมากขึ้นในการช่วยสนับสนุนให้มีการ ดําเนินงาน Climate Action เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality จึงเกิดประโยชน์ต่อการ ดูแลรักษาและเพิ่มพื้นที่ป่า รวมทั้งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่ดูแลรักษาป่าไม้ได้ โดยใช้กลไกราคา (Pricing mechanism) เข้าสนับสนุน อาทิ การทําโครงการคาร์บอนเครดิตปลูกป่าในพื้นที่ต่างๆ ที่ ดําเนินการร่วมกับบริษัทเอกชน นับเป็นโอกาสสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เพื่อให้การปลูกป่าช่วยสร้างงาน และสร้างรายได้ ให้กับชุมชนท้องถิ่น โดยการปลูกป่าต้องทําร่วมกับชุมชน และหาทางให้ชุมชน ร่วมรักษาป่า และใช้ประโยชน์จากป่าอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ การปลูกป่าโครงการคาร์บอน เครดิตเพื่อให้ประสบความสําเร็จได้นั้น ยังนับเป็นความท้าทายในการดําเนินงาน และต้องมีมาตรฐานการ ตรวจประเมินรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) อันเป็นที่ยอมรับ จึงต้องมีการยกระดับ มาตรฐาน Certification การรับรองนั้นให้เทียบเท่ากับมาตรฐานระดับนานาชาติ
 
9. ยืนยันว่า Climate Change นําไปสู่การปรับเปลี่ยนกลไกขับเคลื่อนทิศทางโลก ด้วยราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) การใช้กลไกคาร์บอนเครดิตเป็นเครื่องมือเสริมประสิทธิภาพต้นทุน ช่วยให้องค์กรดําเนินงานมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero GHG Emissions ใน อนาคตได้อย่างเหมาะสม รวมถึงยินดีสนับสนุน แพลตฟอร์มการซื้อขายคาร์บอนเครดิต “FTIX” ที่สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทําขึ้น เพื่อให้เป็น แพลตฟอร์มแรกในประเทศไทยที่จะเป็นตลาดกลางซื้อขายคาร์บอนเครดิต และยินดีกับความพยายามของ ประเทศไทยต่อการดําเนินงานความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้ความตกลงปารีส ข้อ 6.2 เพื่อใช้ใน การบรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด
 
10. ส่งเสริมการใกลไกคาร์บอนเครดิต เป็นเครื่องมือเสริมประสิทธิภาพต้นทุน ให้มีบทบาทช่วยให้องค์กรมีการดำเนินงานที่มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality & Net Zero GHG Emissions ในอนาคตได้อย่างเหมาะสม รวมถึงยินดีสนับสนุน แพลตฟอร์มการซื้อขายคาร์บอนเครดิต “FTIX” (FTI: CC/RE/REC X Platform) โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นตลาดกลางซื้อขายคาร์บอนเครดิต และยินดีกับความพยายามของประเทศไทยต่อการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้ความตกลงปารีส ข้อ 6.2
 
11. ยืนยันว่า ประเทศไทยมีโอกาสในการดําเนินงาน Climate Action ที่จะสามารถ ขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยปัจจัยหนุนเสริม (Supportive Measure) จากภาครัฐ ในด้านนโยบาย มาตรการ และกฎระเบียบต่างๆ อาทิ
 
i) การขับเคลื่อนนโยบาย BCG และการสนับสนุนภาคเกษตร ในการลดก๊าซเรือน กระจกและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยขับเคลื่อนประเทศไทยมุ่งสู่ Climate Smart Agriculture
 
ii) การใช้เทคโนโลยี Carbon Capture Utilization and Storage หรือ CCUS เพื่อบรรลุเป้าหมาย ยังคงต้องการการสนับสนุนในด้านระเบียบ และนโยบายสนับสนุน ตลอดจนการพิสูจน์ว่า มีแหล่งกักเก็บได้จริง และการทําความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับเทคโนโลยี CCS
 
iii) ด้านแบตเตอรี่ ระบบกักเก็บพลังงานหรือยานยนต์ไฟฟ้า Smart energy platform ซึ่งจําเป็นต้องได้รับการสนับสนุน การส่งเสริม และการพัฒนากฎระเบียบรองรับ
 
iv) การค้าและการลงทุน โดย BOI จัดทํามาตรการส่งเสริมการลงทุนในสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาต่าง ๆ
 
v) การจัดทํามาตรฐานคาร์บอนเครดิตของประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับ สากลได้เป็นเรื่องสําคัญ เพราะจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการกีดกันทางการค้า ทั้งนี้ ต้องมีกฎระเบียบ ข้อกําหนดของภาครัฐ สนับสนุนการขับเคลื่อน
 
vi) สนับสนุนการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต และแพลตฟอร์มซื้อขายคาร์บอน เครดิตและไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด หรือ FTIX ซึ่งได้รับการพัฒนาและบริหารจัดการโดย สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเชื่อมโยงกับ ระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิต ของ อบก.
 
vii) สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย หรือ TCNN เพื่อให้เกิดการทํางานร่วมกัน
 
viii) สนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในประเทศไทย เพิ่มแหล่งกักเก็บ/ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
 
12.ตัดสินใจว่า การแก้ปัญหา Climate Change เป็นการทําเพื่อคนรุ่นปัจจุบัน และคนรุ่นถัดไป เพื่อลูกหลาน การดําเนินงานลดโลกร้อนจําเป็นต้องมีความต่อเนื่อง แม้จะเป็นเรื่องยาก และเห็นผลในระยะยาว แต่ต้องมุ่งมั่นดําเนินการ และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
 
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 
 

@Admin TVBC

สนใจสมัครสมาชิกหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายเลขานุการฯ
โทร: 02-018-6888 ต่อ 4340
Email: tvbc.secretariat@gmail.com

:)